โครงการเฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ (Regulatory Watch)

เฝ้าระวังการออกกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง

จุดมุ่งหมายของโครงการนี้ คือการเฝ้าระวังการออกกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทในการกํากับดูแล และกฎระเบียบ (regulation) ตลอดจนเงื่อนไขของสัญญาสัมปทาน (concession) หรือใบอนุญาต (license) เนื่องจากมีส่วนสําคัญอย่างยิ่ง ต่อการกำหนดกติกาการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรมในตลาด รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค หรือการให้บริการสาธารณะ ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้ การเฝ้าระวังกฎระเบียบของหน่วยงานการกํากับดูแลโดยภาควิชาการ จึงน่าจะเป็นกลไกหนึ่งในการปรับปรุงให้กฎระเบียบของหนวยงานการกำกับดูแลเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะมากยิ่งขึ้น 

โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย ดังนี้ 

  1. ติดตามตรวจสอบการออกกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ และลดความเสี่ยงจากการที่หน่วยงานกำกับดูแล ถูกยึดกุม และครอบงำโดยกลุ่มผลประโยชน์ และติดตามตรวจสอบการออก กฎระเบียบต่าง ๆ ของหน่วยงานกำกับดูแล และการกำหนดเงื่อนไขสัมปทาน หรือใบอนุญาตที่สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดในพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ
  2. แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการนำเอาหลักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มาใช้ในการวิเคราะห์กฎหมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในวงการการศึกษาในด้านดังกล่าวในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
  3. นำเสนอข้อเสนอแนะทางนโยบายในการจัดองค์กรกำกับดูแล และกระบวนการออกกฎระเบียบ ที่มีความโปร่งใส มีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ และมีกระบวนการที่ได้มาตรฐาน

คณะผู้วิจัย ได้ดำเนินการเฝ้าระวังการออกกฎระเบียบขององค์กรกํากับดูแลอิสระที่ถูกตั้งขึ้นตามกฎหมาย และองค์กรกํากับดูแลที่เป็นองค์กรภายใต้ฝ่ายบริหาร ดังนี้

  1. คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลกิจการโทรคมนาคม
  2. คณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว 
  3. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กระทรวงคมนาคม และหน่วยงานในสังกัด และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งมีหน้าที่กํากับดูแลด้านการขนส่ง และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ซึ่งมีหน้าที่ป้องปรามการผูกขาดทางการค้า

โดยได้จัดทําเป็นรายงาน “เฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ” จํานวน 21 เรื่อง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในรายงานฉบับสมบูรณ์ 

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, สฤณี อาชวานันทกุล, สมชัย จิตสุชน และเดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2551). เฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2551
ผู้แต่ง
  • สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์
  • สฤณี อาชวานันทกุล
  • สมชัย จิตสุชน
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษาความเหมาะสมและความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาขององค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

ศึกษาความพร้อมของไทยในการเข้าเป็นภาคีตามอนุสัญญาองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ ค.ศ.1997 ว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่รัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น