KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I เยเมน ลดคอร์รัปชันด้วยการเปลี่ยนวิธีจ่ายเงินเจ้าหน้าที่รัฐ

เปลี่ยนวิธีจ่ายเงินเจ้าหน้าที่รัฐ ช่วยอะไรได้บ้าง ?

เยเมน ประเทศในตะวันออกกลางที่มีสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐบาลและกลุ่มกบฏฮูตีมาตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้เยเมนต้องเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ ความยากจน และความอดอยาก รวมทั้งปัญหา “คอร์รัปชัน” ด้วยเช่นกัน ทำให้วันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา เยเมนได้ประกาศการปฏิรูปรูปแบบการจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐ (Payment Reform) เพื่อลดการคอร์รัปชัน

โดยกระทรวงการคลังเยเมนได้ออกมาประกาศว่า นโยบายนี้ได้รับการสนับสนุนเต็มที่จาก Presidential Leadership Council หรือสภาประธานาธิบดีเยเมน เพื่อตอกย้ำการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจและการบริหาร ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเงินเดือนเจ้าหน้าที่รัฐส่วนกลางและท้องถิ่นจะได้รับการจ่ายเงินผ่านทางธนาคารที่ผ่านการรับรองแทนการจ่ายโดยตรงจากรัฐบาล การประกาศดังกล่าวยังบอกเพิ่มด้วยว่าการปฏิรูปครั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ป้องกันเจ้าหน้าที่ยักยอกเงิน และเพื่อรับประกันว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะได้รับเงินค่าตอบแทนโดยไม่ถูกโกง

โดยการปฏิรูปครั้งนี้ยังได้รับการยอมรับจากซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับเยเมน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่รัฐใน เอเดน เมืองทางตอนใต้ของเยเมนยังบอกว่า พวกเขาพร้อมจะเผชิญหน้ากับการแก้ปัญหาคอร์รัปชันทั้งด้านการเงินและการบริหารของรัฐ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและเพื่อความเป็นคนอยู่ของคนเยเมนที่ดีขึ้น

ปัจจุบันในไทยของเราเองก็ต้องเจอปัญหาการทุจริตและยักยอกเงินไม่ต่างกัน การมีตัวกลางที่โปร่งใสเข้ามาร่วมบริหารจัดการด้านการเงินของรัฐก็เป็นหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจ แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไรกับแนวทางนี้ของเยเมน ?

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เปลี่ยนนโยบายคลัง ป้องกันคอร์รัปชันด้วยแนวทางเพิ่มความโปร่งใส

KRAC คัดสรรชวนทุกคนมาร่วมศึกษาความโปร่งใสของงบประมาณการคลังของไทย พร้อม 5 แนวทางเพิ่มความโปร่งใสจากงานวิจัย

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เบื้องหลังการทุจริตภาษีศุลกากร: เมื่อบริษัทปลอมกลายเป็นเครื่องมือเลี่ยงภาษี

บริษัทปลอม vs ศุลกากร : หนีภาษีเขาทำกันอย่างไร ? วิธีป้องกันบริษัทปลอม แหล่งหนีภาษาศุลกากรหลักหมื่นล้าน !! กระบวนการเหล่านี้จะเป็นอย่างไร ? แต่ละตัวละครทำหน้าที่อะไร สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษากลุ่มอิทธิพลซึ่งนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบ: กรณีศึกษาการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีศุลกากรในประเทศไทย” (2561)

You might also like...

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น