การพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายในองค์กร เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในระดับองค์กร โดยอาศัยการออกแบบกระบวนการจัดการภายในองค์กรที่มีการวางแนวทางการทำงานให้มีเป้าหมายบนหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานขององค์กรที่มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของสังคมเป็นสำคัญ และทำให้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมลดลงได้
สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาการคอร์รัปชันในระดับองค์กร จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายในองค์กรเป็นหลัก ซึ่งในที่นี้ หากต้องการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในระดับประเทศโดยเริ่มต้นจากภายในองค์กร หน่วยงานส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งไปที่ธรรมาภิบาลในหน่วยงานราชการ โดยในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้กำหนดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อส่งเสริมให้ระบบราชการไทยนำหลักการบริหารไปใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชน ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ซึ่งระบุองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีทั้งหมด 10 หลัก ได้แก่ หลักการตอบสนอง (Responsiveness) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) หลักประสิทธิภาพ/คุ้มค่า (Efficiency/ Value for Money) หลักความเสมอภาค (Equity) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ (Accountability) หลักเปิดเผย/โปร่งใส (Transparency) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) และหลักนิติธรรม (Rule of Law)
จากหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 10 หลักในข้างต้น ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้มีการออกแนวปฏิบัติภายใต้กรอบแนวคิด Good Governance Framework เพื่อให้สามารถนำหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด โดยประกอบด้วย 4 หลักการสำคัญ ได้แก่ (1) การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) ประกอบด้วย ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ความมีประสิทธิผล (Effectiveness) และการตอบสนอง (Responsiveness) (2) ค่านิยมประชาธิปไตย (Democratic Value) ประกอบด้วย การมีภาระรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (Accountability) ความเปิดเผยและโปร่งใส (Transparency) หลักนิติธรรม (Rule of Law) และความเสมอภาค (Equity) (3) ประชารัฐ (Participatory State) ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมและการพยายามแสวงหาฉันทามติ (Participation/Consensus Oriented) และการกระจายอำนาจ (Decentralization) และ (4) ความรับผิดชอบทางการบริหาร (Administrative Responsibility) ประกอบด้วย คุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน (Morality/Ethics)
จากที่กล่าวมาในข้างต้น จะเห็นได้ว่าหากต้องการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในระดับองค์กร การออกแบบกระบวนการจัดการภายในองค์กรที่ดี โดยอาศัยหลักธรรมาภิบาลในระบบราชการ ถือเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญในการวางแนวทางการทำงานของระบบราชการให้มีเป้าหมาย ซึ่งจะสามารถทำให้การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติงานขององค์กรที่มุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งจะช่วยทำให้ปัญหาคอร์รัปชันในสังคมลดลงได้
ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
- Anti-Corruption 101
เริ่มสร้างธรรมาภิบาลองค์กร เพื่อต่อกรปัญหาคอร์รัปชัน
การพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายในองค์กร เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในระดับองค์กร โดยอาศัยการออกแบบกระบวนการจัดการภายในองค์กรที่มีการวางแนวทางการทำงานให้มีเป้าหมายบนหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี …
ลงมือต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านกระบวนการ 4 ธรรม
กระบวนการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม …
จัดการคอร์รัปชันแบบรอบด้าน “ธรรมาภิบาล” คือคำตอบ
แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์ที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในหลายประเทศได้มีการสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ …