KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I แก้ปัญหาคอร์รัปชัน ด้วยการสร้างองค์ความรู้ระดับหมู่บ้านในอินโดนีเซีย

“การแก้ปัญหาคอร์รัปชันนั้นไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ด้วยองค์กรใดเพียงองค์กรหนึ่ง แต่จำเป็นต้องพึ่งพาการมีส่วนร่วมจากทุก ๆ ด้าน รวมถึงจากประชาชนด้วยเช่นกัน” Firli Bahuri ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประเทศอินโดนีเซียได้กล่าว

เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา The Corruption Eradication Commission (KPK) หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอินโดนีเซียเริ่มโครงการส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว โดยการต่อต้านทุจริตระดับหมู่บ้าน ที่ปาดัง (Padang) เมืองทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยโครงการนี้ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2565 คัดเลือก 10 หมู่บ้านนำร่อง ก่อนจะเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริต โดยหมู่บ้านที่เข้าร่วมจะได้รับเอกสารและสรุปข้อมูลที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพเพื่อหาหมู่บ้านที่เหมาะสมกับตำแหน่ง “หมู่บ้านต่อต้านทุจริต” โดยเจ้าหน้าที่รัฐและผู้สังเกตการณ์ และมอบรางวัลให้กับหมู่บ้านที่สามารถปฏิบัติไปตรงตามข้อกำหนดตัวชี้วัดของโครงการ

บทสรุปของโครงการพบว่าหลายหมู่บ้านมีคะแนนสูง หมู่บ้าน Banyubiru ได้รับคะแนนการประเมินสูงสุดคือ 96.75 คะแนน หมู่บ้าน Cibiru Wetan ได้ 96.16 และหมู่บ้าน Kumbang 95 คะแนน นอกจากนั้นยังมีหมู่บ้าน Kamang Hilia และ Kutuh ที่ได้คะแนนลงมาตามลำดับ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการสร้างการมีส่วนร่วมระดับท้องถิ่นเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน คะแนนที่สูงแสดงให้เห็นถึงองค์ความรู้ที่ประชาชนได้รับ และสิ่งที่น่าจับตามองคืออนาคตของโครงการว่าจะพัฒนาไปในทิศทางไหน จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไรบ้างเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชันลงได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น