KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I แนวทางการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยใน “สหรัฐอเมริกา”

เมื่อคอร์รัปชันกัดกร่อนประชาธิปไตย แล้วเราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ?

“เสถียรภาพประชาธิปไตยถูกกัดกร่อนได้เมื่อเกิดการคอร์รัปชัน” เป็นสมมติฐานที่มาจากความสัมพันธ์ของทั้งสองสิ่ง เพราะประชาธิปไตยจะช่วยรักษาผลประโยชน์สาธารณะและลดระดับการคอร์รัปชัน รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่มีธรรมาภิบาลและสร้างความสามารถในการตรวจสอบได้ให้กับประชาชน แต่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย หลายประเทศทั่วโลกต่างก็ประสบกับปัญหาคอร์รัปชันที่เพิ่มขึ้น ก่อนที่จะไปถึงจุดเปลี่ยนผ่าน (Turning Point) ของการมีประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมความมั่นคงของประชาธิปไตยในสังคม และจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานต่อต้านคอร์รัปชันที่มีความเข้มแข็งมากขึ้นได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ ดร.นอร์แมน ไฮเซ่น ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการต่อต้านการทุจริตและหลักนิติธรรม ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเด็นว่า “การคอร์รัปชันได้กัดกร่อนความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งการต่อสู้กับปัญหาคอร์รัปชัน ถือเป็นเรื่องที่มีความท้าทาย เร่งด่วน และต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยวในการดำเนินการ ดังนั้น จึงต้องการความร่วมมืออย่างจริงจัง ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพื่อพัฒนาและออกแบบนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็งและสร้างสรรค์”

โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2023 ที่ผ่านมา ในสหรัฐอเมริกาได้มีการเริ่มต้นโครงการต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย (the Anti-Corruption, Democracy, and Security Project; ACDS) นำโดย ดร.นอร์แมน ไฮเซ่น จากสถาบันบรูกกิงส์ (Brookings Institution) โดยโครงการนี้ จะมีการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะของสหรัฐฯ เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันที่เป็นอันตรายต่อประชาธิปไตยและความมั่นคงทั่วโลก ผ่านการทำวิจัยที่จะดำเนินการร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากประเทศต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการประเมินประสิทธิภาพของแนวทางต่อต้านคอร์รัปชันอีกด้วย โดยมีขอบเขตและกิจกรรมการดำเนินงาน ดังนี้

1. การเป็นผู้นำร่วมกับกลุ่มความโปร่งใสทางการเงินและความซื่อสัตย์ (Financial Transparency and Integrity) โดยร่วมมือกับเครือข่ายรัฐบาลแบบเปิด (Open Government Partnership) และรัฐบาลสหรัฐฯ โดยนำเอาแนวคิด ‘Democracy Cohort’ ที่เน้นการส่งเสริมความโปร่งใสทางการเงิน ความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญของการประชุมเพื่อประชาธิปไตยในปี 2021

2. การวิเคราะห์ข้อตกลงในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ที่มีการติดตามความคืบหน้าของแนวปฏิบัติให้กับรัฐบาลต่าง ๆ ที่เข้าร่วม เพื่อส่งเสริมการสร้างความรับผิดชอบของรัฐบาล และลดช่องโหว่ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชัน

3. การประเมินกรอบการวัดผลการทุจริตคอร์รัปชัน ผ่านการหาวิธีการที่ดีที่สุด (Best Practices) และหาความท้าทายต่าง ๆ ในการวัดระดับการทุจริต เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งของประชาธิปไตย และรับรองว่าการดำเนินงานต่าง ๆ นั้น มีหลักฐานเชิงประจักษ์จากพื้นฐานทางข้อมูลที่จะช่วยลดระดับของการคอร์รัปชันได้จริง

4. การสร้างชุมชนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับสากล ผ่านการรวบรวมผู้ที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลก ทั้งจากภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชน และสื่อมวลชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างชุมชน และร่วมแบ่งปันวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน เช่น การต่อต้านการทุจริตในภาคธุรกิจ หรือการเข้าใจในรูปแบบของปัญหาคอร์รัปชันที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการแก้ไข

5. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครน เพื่อนำไปสู่กระบวนการฟื้นฟูแนวทางในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นต้นแบบสำคัญให้กับประเทศอื่น ๆ ในการนำแนวทางดังกล่าวไปปฏิบัติตาม เพื่อพัฒนาและส่งเสริมประชาธิปไตยให้มีความเป็นอิสระ เข้มแข็ง และสามารถแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้จากการสนับสนุนในระดับนานาชาติ

โครงการนี้ได้มุ่งเน้นการสนับสนุนผู้ที่ทำงานด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลทั่วโลก ด้วยการสนับสนุนองค์ความรู้ เครื่องมือ และความเชื่อมโยง ผ่านการสร้างเครือข่ายในการต่อต้านการคอร์รัปชันและเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย และมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ในการรับมือกับความท้าทายของปัญหาคอร์รัปชัน รวมถึงมีการประเมินผลมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และติดตามความคืบหน้าในการปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ตลอดจนถึงการวางแผนรับมือกับภัยคุกคามประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาใหญ่ที่หลายประเทศกำลังเผชิญในเรื่องของการพัฒนาไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย ผ่านโครงการที่สนับสนุนการทำงานด้านต่อต้านคอร์รัปชันเพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย ที่จะดึงเอาศักยภาพความเชี่ยวชาญและเครือข่ายของผู้นำที่มั่นคง มาช่วยสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันทั่วโลกได้

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

เปลี่ยน Trainees เป็น Rookies ตัวท็อปของวงการ : ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 เพื่อปูพื้นฐานการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่าน Anti-Corruption 101 ที่จะช่วยปูพื้นฐานความรู้ในเรื่องการคอร์รัปชัน ผ่านแนวคิดทางวิชาการ และเรียนรู้แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีเนื้อหาเข้าใจง่ายสำหรับทุกคน

คัดสรรงานวิจัยไทยต่อต้านคอร์รัปชัน ที่คุณอาจไม่รู้ (จัก) มาก่อน : ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทย 24 ชิ้น เพื่อทำความเข้าใจการต่อต้านคอร์รัปชัน

ชวนอ่านสรุปงานวิจัยไทยที่ KRAC คัดสรรมาให้คุณ เพื่อจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันภายใต้บริบทของประเทศไทย

You might also like...

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้