โรงเรียนโปร่งใส เครื่องมือส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (School Governance)

เพราะการมีส่วนร่วม คือ กุญแจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน…ชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปด้วยกัน

ที่มาภาพ : โครงการโรงเรียนโปร่งใส
โครงการส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (School Governance) เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2: การออกแบบและทดลองต้นแบบเครื่องมือการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันของเยาวชน โดยความร่วมมือจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด  
 

วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อสะท้อนแนวคิดให้ “เสียงของนักเรียนมีความหมาย”  ด้วยการออกแบบเครื่องมือการป้องกันปัญหาคอร์รัปชันในโรงเรียน ให้นักเรียนมีบทบาทหลักในการป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการปลูกฝังธรรมาภิบาลด้วยการออกแบบกระบวนการส่งเสริมธรรมาภิบาลในโรงเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ด้วย 3 กลไกสำคัญ คือ Open (กลไกการเปิดเผยข้อมูลจำเป็นของโรงเรียน) Join (กลไกการมีส่วนร่วมที่ได้รับการยอมรับ) และ Learn (กลไกการตรวจสอบจากเกณฑ์มาตรฐานของนักเรียน)  

ที่มาภาพ : โครงการโรงเรียนโปร่งใส

เพราะการมีส่วนร่วม คือ กุญแจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน จึงเป็นที่มาของ เครื่องมือโรงเรียนโปร่งใส เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปด้วยกันกับ 3 ฟีเจอร์หลัก ได้เเก่ 

ส่องฐานข้อมูล
ให้คะแนนโรงเรียน
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
 

โดยเครื่องมือนี้ จะชวน ส่องฐานข้อมูลโรงเรียน ซึ่งรวบรวมโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถตรวจสอบข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนได้ในลักษณะที่เข้าใจง่าย ประกอบด้วย 6 ชุดข้อมูล ได้เเก่ ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลผู้สอน/บุคลากร ข้อมูลสถานศึกษา ข้อมูลคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ข้อมูลสิ่งก่อสร้าง ข้อมูลครุภัณฑ์ และสามารถเชื่อมโยงไปสืบค้นข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างต่อได้บน ACT Aiแพลตฟอร์ม

นอกจากจะนำเสนอข้อมูลโรงเรียนให้ได้สำรวจกันเเล้ว ยังได้สอดแทรกกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน การให้คะแนนโรงเรียน โดยให้ผู้ใช้งานที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนนั้น ๆ ช่วยกันเปรียบเทียบสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในโรงเรียน ว่าได้มาตรฐานหรือไม่ เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการให้บริการของสถานศึกษา เเละสามารถส่ง Feedback หรือรายงานรูปภาพได้ โดยไม่ต้องระบุตัวตนกลับไปยังโรงเรียนและผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนของเรา เพื่อให้เกิด กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการติดตาม ตรวจสอบ และตอบกลับของโรงเรียนผ่านพื้นที่สาธารณะไปพร้อม ๆ กัน 

มาร่วมฝึกฝนบทบาทการตั้งคำถาม ตรวจสอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการบริหารจัดการที่โปร่งใสในโรงเรียนต่อไป

 
🚩โรงเรียนโปร่งใส
ประเทศ : ไทย
ประเภทเครื่องมือ : Detect Corruption
ผู้จัดทำเครื่องมือ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์กรต่อต้านคอรรัปชัน (ประเทศไทย) และบริษัท แฮนด์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
 
ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง

HAND SOCIAL ENTERPRISE

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

โรงเรียนโปร่งใส เครื่องมือส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (School Governance)

เพราะการมีส่วนร่วม คือ กุญแจสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน…ชวนทุกคนมาแลกเปลี่ยน เพื่อพัฒนาโรงเรียนไปด้วยกัน

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น