KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I โลกเริ่ม (ไม่) โปร่งใส เพราะคะแนน CPI ไม่ขยับ

2 ใน 3 ของ 180 ประเทศทั่วโลก คะแนน CPI ตอนนี้ไม่ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม

ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ของปี 2023 ได้ประกาศออกมาแล้ว เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา (คะแนน CPI แต่ละปีจะประกาศในเดือนมกราคมของปีถัดไป) ซึ่งปีนี้พบว่ามีสถิติที่น่าสนใจหลายประเด็น เช่น ประเทศเดนมาร์กที่ได้ 90 คะแนนในปีนี้ และคว้าอันดับ 1 มา 6 ปีซ้อน ทั้งหมดเป็นเพราะเดนมาร์กมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้หลายประเทศเองก็สามารถเพิ่มคะแนน CPI ได้ดี เช่น ไอร์แลนด์ (77 คะแนน), เกาหลีใต้ (63 คะแนน), อาร์เมเนีย (47 คะแนน), เวียดนาม (41 คะแนน), มัลดีฟส์ (39 คะแนน), มอลโดวา (42 คะแนน), แองโกลา (33 คะแนน) และอุซเบกิสถาน (33 คะแนน)

อย่างไรก็ตาม แม้คะแนนของหลายประเทศจะดูดี แต่หากมองแบบภาพรวมเราจะเห็นว่าคะแนน CPI ที่เป็นตัวชี้วัดความโปร่งใสของหลายประเทศทั่วไปโลกไม่ได้เติบโตขึ้น ค่าเฉลี่ยคะแนน CPI ของโลกในปัจจุบันยังอยู่ที่ 43 คะแนนเท่าเดิมมา 12 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศ 2 ใน 3 ของ 180 ประเทศ มีคะแนนไม่ถึง 50 คะแนนหรือไม่ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม และไม่ใช่แค่นั้น ดัชนีหลักนิติธรรม (World Justice Project : WJP) ยังพบว่าโลกกำลังประสบปัญหาความยุติธรรมกำลังเสื่อมถอย โดยพบว่าประเทศที่มีคะแนน WJP ต่ำ มักจะมีคะแนน CPI ต่ำด้วยเช่นกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสอดคล้องกันระหว่างความยุติธรรมและการคอร์รัปชัน

องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) จึงได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลหลายประเทศทำหน้าที่ในการสนับสนุนให้เกิดความเป็นกลางในกระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมศักยภาพให้เกิดความโปร่งใส และสร้างการถ่วงดุลอำนาจเพื่อให้เกิดการตรวจสอบ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการจัดการกับปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

“คอร์รัปชันจะยังรุนแรงแบบนี้ต่อไป ถ้ากระบวนการยุติธรรมยังไม่สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ และเมื่อไรก็ตามที่ความยุติธรรมถูกเงินซื้อหรือถูกแทรกแซงทางการเมือง นั่นจะกลายเป็นความทรมานของประชาชน รัฐบาลจึงต้องทุ่มกำลังอย่างเต็มที่ และสร้างความเชื่อมั่นในความเป็นกลาง ตอนนี้หมดเวลาแล้วที่เราจะรอมชอมกับการคอร์รัปชัน” François Valérian ประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติกล่าว

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด ต้นเหตุการเสียงบประมาณรัฐหลักพันล้าน

“รถบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด” เป็นปัญหาที่สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างรุนแรง ซึ่งการปล่อยให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัดส่วนหนึ่งเกิดจากการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐที่รับสินบนและปล่อยปละละเลยรถบรรทุกเหล่านี้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?

ชวนศึกษารูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | จะกลัวทำไมมีเมื่อกฎหมายหนุนหลัง ? ชวนส่องกฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันที่สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วม

เพราะการมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น แต่การตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นับว่าเป็นอีกหนึ่งการมีส่วนร่วมที่สำคัญ KRAC คัดสรร ชวนดู กฎหมายมาตราไหน สนับสนุนประชาชนอย่างไรบ้าง ?

You might also like...

KRAC Hot News I อุบัติเหตุการก่อสร้างตามแนวถนนพระราม 2: ภาพสะท้อนปัญหาธรรมาภิบาลโครงการก่อสร้างภาครัฐไทย

อุบัติเหตุซ้ำซากบนถนนพระราม 2 ถึงเวลาปฏิรูป! ระบบจัดซื้อจัดจ้างต้องโปร่งใส ประชาชนต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และต้องมีมาตรการป้องกันและลงโทษที่จริงจังกันเสียที

KRAC Hot News I ผู้หญิงไม่เพียงแต่ถูกเรียกสินบน… แต่ยังถูกขอเรื่องเซ็กส์ด้วย

งานวิจัยจาก Transparency International เผยว่า “เพศ” ส่งผลต่อรูปแบบการเผชิญกับคอร์รัปชัน! เพราะผู้หญิงอาจถูกบังคับให้จ่ายสินบนทางเพศ หรือถูกละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจในทางมิชอบ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ปิดช่องโหว่ดุลพินิจ ปิดช่องทางทุจริตในไทย

“ดุลพินิจ” อำนาจรัฐ หรือช่องว่างที่ทำให้เกิดการทุจริต ? KRAC ชวนถอดบทเรียนการแก้ปัญหาโกงจากการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐจากกงานวิจัยเรื่อง การแสวงหาผลประโยชน์ จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ (2560)