การจัดการความรู้เพื่อสร้างธรรมาภิบาลที่ดีในการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ

ศึกษาความรู้ในด้าน Explicit และ Tacit ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ (E-Auction)

งานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษาความรู้ที่มีบทบาทความสำคัญในการสร้างธรรมาภิบาลที่ดีของการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) โดยนำแนวคิดด้านการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ว่ามีรายละเอียดความรู้ในด้าน Explicit และ Tacit ใดบ้าง ที่ส่งผลต่อการมีธรรมาภิบาล

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) จากทุกกระทรวง ระบุถึงองค์ประกอบหลัก 4 ด้านที่มีบทบาทต่อการสร้างธรรมาภิบาลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ได้แก่ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง บุคลากร/ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ค้า และนักการเมือง
  • ผลจากการศึกษา พบว่าธรรมาภิบาล 10 อันดับแรก ที่ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ธรรมาภิบาลในการจัดซื้อจัดจ้างที่เริ่มจากกระบวนการกำหนดคุณลักษณะของสินค้าและบริการที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้าง โดยธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคลากรภาครัฐต้องไม่ร่วมมือกับผู้ค้า เพื่อแสวงหาประโยชน์ต่าง ๆ แต่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดจากการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
  • ผลจากการศึกษา พบว่านักการเมือง มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการสร้างธรรมาภิบาลในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยต้องไม่มีการแทรกแซงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อได้รับผลประโยชน์จากโครงการ รวมถึงนักการเมืองต้องไม่มีตัวแทนที่มีผลประโยชน์เข้าร่วมประมูลโครงการต่าง ๆ
  • ผลจากการใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พบว่า ในส่วนของการสร้างธรรมาภิบาล อยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก แต่สามารถช่วยให้ภาครัฐได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและเงินลงทุน รวมถึงช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส ลดการทุจริตได้มากขึ้น แต่การลดความร่วมมือทางการค้า (ฮั้ว) ของผู้เข้าร่วมประมูล และการตรวจสอบ เพื่อลงโทษผู้ที่ทุจริต ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก
  • ผลการศึกษาจากผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐด้วยวิธีการประมูลออนไลน์จากทุกกระทรวงของไทย สะท้อนให้เห็นว่าความรู้ด้าน Tacit ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดคุณลักษณะของสินค้าและบริการ ที่ต้องการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ (E-Auction) รวมถึงความรู้ด้าน Explicit ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารที่เผยแพร่การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐด้วยวิธีการประมูลออนไลน์ เนื่องจากส่งผลต่อการเปลี่ยนวัฒนธรรมการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส ลดการทุจริตได้มากขึ้น ดังนั้น หากมีการจัดการองค์ประกอบนี้ จะส่งผลต่อการสร้างธรรมาภิบาลด้านการลดความร่วมมือทางการค้าของผู้เข้าร่วมการประมูล และ สามารถตรวจสอบ เพื่อลงโทษผู้ที่ทุจริตได้ เช่น การถ่ายทอดความรู้ด้านระเบียบ กระบวนการ บทลงโทษต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะด้านบทลงโทษผู้ทุจริต
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ และคณะ. (2552). โครงการธรรมาภิบาลในองค์กรของรัฐ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจไทย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2552
ผู้แต่ง
  • ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์จากกรมบัญชีกลาง จำนวน 40,000 โครงการ และนำมาจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

บทความวิจัย : การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา