ศึกษาปัจจัยการทุจริตของนักการเมืองในการเลือกตั้ง รูปแบบและกระบวนการทุจริตในการเลือกตั้ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการแกไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งทีเป็นรูปธรรมในอนาคต
งานวิจัยเรื่องนี้ ให้ความสําคัญกับการทุจริตเลือกตั้งโดยตรง เพราะส่งผลถึงการบริหารประเทศที่ปราศจากธรรมาภิบาล ทำให้ให้ประเทศเต็มไปด้วยโจรปล้นบ้านกินเมือง (Kleptocracy) ซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ตลอดจนภาพลักษณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ ที่ไทยยังคงมีการทุจริตสูง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งที่เป็นรูปธรรมในอนาคต ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เเก่ การสัมภาษณ์ และการจัดสนทนากลุ่ม มีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และบุรีรัมย์
สรุปประเด็นจากงานวิจัย
ผลจากการศึกษา พบว่าปัจจัยของการทุจริตการเลือกตั้ง คือ ความต้องการของนักการเมืองที่จะมีอํานาจทางการเมือง เพื่อเข้าไปแย่งชิงทรัพยากรของประเทศ ส่วนในด้านประชาชน จะมีลักษณะทัศนคติเชิงบวกต่อการทุจริตการเลือกตั้ง สำหรับรูปแบบการทุจริตการเลือกตั้งที่ใช้กันมากที่สุด คือ การใช้เงินซื้อเสียงโดยผ่านหัวคะแนน
ผลจากการศึกษา พบว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตการเลือกตั้ง ได้แก่ นักการเมือง ประชาชน หัวคะแนนต่าง ๆ เช่น ข้าราชการ ทหาร ตํารวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู พระสงฆ์ นักการเมืองท้องถิ่น ในส่วนของความร่วมมือระหว่างประชาชน นักการเมือง และข้าราชการในการป้องปรามการทุจริต ยังคงมีน้อย แต่ในทางตรงกันข้ามกลับร่วมมือกระทําการทุจริตมากกว่า
ผลจากการศึกษา พบว่ากระบวนการทํางานของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในระดับจังหวัด และส่วนกลาง ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เพราะปัจจัยเกี่ยวกับงบประมาณ คุณภาพของบุคคลากร และกฎหมายทีไม่เข้มแข็ง รวมถึงระบบอุปถัมภ์ที่ยังฝากรากลึกในพื้นที่
ผลจากการศึกษา พบว่าความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรม ได้เเก่ การให้การศึกษาแก่ประชาชน โดยเริ่มจากภายในโรงเรียน และนอกโรงเรียน การแก้ไขกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ การสรรหาบุคคลที่มีคุณภาพเข้ามาทํางาน การจัดตั้งศาลเลือกตั้ง และการตั้งองค์กรอิสระในการปราบปรามการทุจริตการเลือกตั้ง โดยให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
- สําหรับข้อเสนอเเนะต่อการแก้ไขปัญหาทุจริตการเลือกตั้งในระยะเร่งด่วน คณะผู้วิจัย ได้เสนอไว้หลายข้อ เช่น ให้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีอํานาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ส่วนการพิจารณาเรื่องการทุจริตเลือกตั้ง ควรให้เป็นอํานาจหน้าที่ของศาลเลือกตั้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ควรเสนอบทลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตการเลือกตั้งให้รุนแรงขึ้น ควรเพิ่มหน่วยงานเฉพาะที่ทำหน้าที่สืบหาข้อมูลการทุจริตการเลือกตั้ง เเละจัดทำรายชื่อบัญชีดําหัวคะแนน ทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังเชิงรุก เป็นต้น
พรชัย เทพปัญญา. (2555). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : การทุจริตการเลือกตั้งปี 2554. สถาบันพระปกเกล้า.
- พรชัย เทพปัญญา
หัวข้อ
โครงการเฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ (Regulatory Watch)
เฝ้าระวังการออกกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง
โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล