เพื่อประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์กับข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย โดยยึดการทํางานของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นฐานในการวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยเรื่องนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์หลักเศรษฐศาสตร์กับข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย โดยยึดเอาการทํางานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มรบทบาทมากที่สุดในการต่อต้านการทุจริตของไทยเป็นฐานในการวิเคราะห์
โดยมุ่งศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในข้อกฎหมายที่สําคัญเกี่ยวกับการทํางานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และปัญหาที่เกี่ยวกับความล่าช้าในการทํางาน ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาทางด้านบุคลากร งบประมาณ ระเบียบปฏิบัติ และข้อจํากัดในการใช้กฎหมายต่าง ๆ จากนั้น คณะผู้วิจัยได้พิจารณาถึงประเด็นเฉพาะ 3 ประเด็น ได้แก่
- การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของการใช้มาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นมาตราที่ใช้ในการชี้มูลและลงโทษการกระทําความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของไทยมากที่สุด
- การทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ซึ่งมีอุบัติการณ์ของการทุจริต วัดได้โดยจำนวนคดีที่มีการชี้มูลโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. มากที่สุด
- การวิเคราะห์เชิงประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินของ ป.ป.ช. ทั้งนี้ ข้อค้นพบจากประเด็นทั้งสามนี้ช่วยให้นักวิจัยสามารถแนะนําการเปลี่ยนแปลงในการใช้มาตรา 157 การรับมือกับการทุจริตในองคกรปกครองส่วนท้องถิ่น และการยื่นและตรวจบัญชีทรัพย์สินของ ป.ป.ช. ได้ดีขึ้น
โดยงานวิจัยนี้ จะใช้หลักเศรษฐศาสตร์ เพื่อช่วยเน้นประสิทธิภาพ ผลประโยชน์และต้นทุน ของการเลือกแต่ละอย่างของมนุษย์ในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตของไทย อันจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการใช้กฎหมายดังกล่าวให้สูงขึ้น
เมธี ครองแก้ว, พัชรวรรณ นุชประยูร, สุรัตนวดี บุญอยู่, สุทธิ สุนทรานุรักษ์, สิริลักษณา คอมันตร์, ศิริรัตน์ วสุวัต และสุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์. (2560). ความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐศาสตร์กับกฎหมายในการต่อต้านการทุจริตในประเทศไทย.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
- เมธี ครองแก้ว
- พัชรวรรณ นุชประยูร
- สุรัตนวดี บุญอยู่
- สุทธิ สุนทรานุรักษ์
- สิริลักษณา คอมันตร์
- ศิริรัตน์ วสุวัต
- สุจิตรา ชำนิวิกย์กรณ์
โครงการเฝ้าระวังกฎระเบียบของรัฐ (Regulatory Watch)
เฝ้าระวังการออกกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชนที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต
เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน
ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่