คอร์รัปชันนั้นสำคัญอย่างไร

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง และเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แม้ในหลายประเทศจะมีความพยายามอย่างเต็มที่ในการป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชัน แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาจากความล้มเหลวของนโยบาย และมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น การศึกษาและทำความเข้าใจถึงการคอร์รัปชัน จึงมีความสำคัญต่อการออกแบบแนวทาง นโยบาย และมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผล เพื่อลดการคอร์รัปชันในสังคมในมิติต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความรุนแรง และกระจายตัวอยู่อย่างกว้างขวางทั่วโลกทั้งในภาครัฐและเอกชน และผลกระทบของการทุจริตคอร์รัปชันนับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ของประชาชน สร้างความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้นในสังคมให้กว้างยิ่งขึ้น

หากคาดการณ์เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ทั่วโลกต้องสูญเสียไปกับการคอร์รัปชันในปัจจุบัน พบว่ามีมูลค่าสูงถึง 3.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีหรือ 5% ของ GDP โลก ในรูปแบบของการติดสินบน การยักยอก การฟอกเงิน การหลีกเลี่ยงภาษี เป็นต้น ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาลที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะได้

แม้ในหลายประเทศจะมีความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชัน แต่ดูจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังที่นำไปสู่ปัญหาอื่นตามมาอีกมาก เช่น ความไม่มั่นคงภายในประเทศ ความยากจนและความหิวโหย ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน ขาดโอกาสในการมีความเป็นอยู่ที่ดี เกิดการจ้างงานที่น้อยลง และภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น

สาเหตุสำคัญที่อธิบายความล้มเหลวของนโยบาย และมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชันในหลายประเทศ คือ การที่คอร์รัปชันมีรูปแบบและความซับซ้อนสูงมาก และมักจะมีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต่างกับนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันที่มักมีลักษณะเป็นนโยบายจากบนลงล่าง ขาดความยืดหยุ่น ไม่สามารถเข้าไปถึงต้นตอปัญหาที่แท้จริงของการคอร์รัปชันได้ เพราะผู้ออกแบบนโยบายขาดความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันในบริบทพื้นที่ของตนเองอย่างแท้จริง

ดังนั้น เพื่อจะออกแบบแนวทาง นโยบาย หรือมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันที่มีประสิทธิผลจริง การศึกษาถึงการคอร์รัปชันผ่านแนวคิดต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอย่างรอบด้านที่ส่งผลกระทบให้เกิดการคอร์รัปชัน รวมถึงแนวทางการวัดประเมินสถานการณ์การคอร์รัปชันในปัจจุบัน จะทำให้เราสามารถรู้เท่าทันการคอร์รัปชันรูปแบบต่าง ๆ และมีความเข้าใจถึงผลกระทบของการคอร์รัปชันที่มีต่อสังคมในมิติต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
กุมภาพันธ์ 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

แล้วอะไรคือคอร์รัปชัน

การศึกษานิยามของคำว่า “คอร์รัปชัน” มีต้นกำเนิดและความหมายที่ถูกอธิบายผ่านองค์ความรู้ในการมองเรื่องของการคอร์รัปชันที่แตกต่างหลายหลาย แต่จุดร่วมที่สำคัญประการหนึ่งของการให้คำนิยามการคอร์รัปชัน คือ…

หันมองสถาบันและการคอร์รัปชันที่เป็นอยู่

แนวคิดเกี่ยวกับ “สถาบัน” เป็นแนวคิดที่สามารถใช้อธิบายถึงปรากฏการณ์คอร์รัปชันที่มีความซับซ้อน
และเกี่ยวข้องกับมิติทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม …

รู้จัก CPI เพื่อเข้าใจสถานการณ์คอร์รัปชัน

ในปัจจุบัน ดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชัน หรือ Corruption Perceptions Index (CPI) นับว่าเป็นดัชนีที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากรัฐบาล ภาควิชาการ และนักลงทุนทั่วโลก …

You might also like...

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

บทความวิจัย : กลไกป้องปรามการทุจริตของภาคประชาชนผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ

การดำเนินกลไกป้องปรามการทุจริตผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ