คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : Collaboration for Good Governance ร่วมสร้างสังคมดีด้วยหลักธรรมาภิบาล

บทความในตอนนี้ผู้เขียนอยากบอกเล่าถึงโครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาล (Collaboration for Good Governance) หนึ่งในโครงการภายใต้งานร้อยพลังสร้างสังคมดี มูลนิธิเพื่อคนไทย ที่เริ่มดำเนินงานในปี 2566 โครงการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและสร้างความร่วมมือภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านธรรมาภิบาล ผู้เขียนจึงอยากบอกเล่าความสำเร็จของการดำเนินงานช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา เพื่อส่งต่อกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานองค์กรภาคีเครือข่าย และประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคม ซึ่งยังคงมีองค์กรภาคีเครือข่ายอีกมากมายที่ต้องการสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลและร่วมสร้างสังคมให้ดียิ่งขึ้น

ความเป็นมาของโครงการนี้ย้อนไปเมื่อปี 2565 หรือผู้อ่านสามารถตามอ่านจากบทความตอนที่แล้วผู้เขียนได้เล่าถึงโครงการธรรมาภิบาลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Governance for Sustainable Development Project) ที่มีการระดมความร่วมมือเพื่อพัฒนาธรรมาภิบาลใน 6 ประเด็น ได้แก่ 1. ภาคการเงินและการธนาคาร 2. ภาคตลาดทุน3. การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และ Open Data 4. การยกระดับธรรมาภิบาลของระบบรัฐสภา5. ธรรมาภิบาลป่าไม้ และ 6. การยกระดับธรรมาภิบาลสื่อบุคคล ผลการดำเนินงานมีองค์กรภาคีเครือข่ายเข้าร่วมขับเคลื่อนงานกว่า 79 องค์กร ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกว่า 524 คน มีการประชุมเพื่อสร้างความร่วมมือกว่า 50 ครั้ง จนนำไปสู่การขยายผลเกิดเป็นโครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาลที่กำลังขับเคลื่อนงานในปีนี้

โครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาลมีการวางแผนเพื่อขยายความร่วมมือไปสู่ภาคส่วนต่างๆ และเน้นการสร้างความร่วมมือให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานสร้างเสริมธรรมาภิบาลร่วมกับภาคีเครือข่ายผ่าน 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.การสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส 2.การสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้และมีส่วนร่วม 3.การสร้างพลังประชาชนในการเฝ้าระวังผ่านช่องทางต่างๆ 4.การสนับสนุนความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรมเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องและเกิดความร่วมมือในระยะยาว

การดำเนินงานโครงการมีคณะทำงาน HAND Social Enterprise เข้ามาทำหน้าที่ “Catalyst” สนับสนุนการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างองค์กรไปจนถึงระดับภาคส่วนให้กับภาคีในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นฝ่ายสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการทำให้ความร่วมมือที่เกิดขึ้นสู่การลงมือปฏิบัติจริงเห็นผลเป็นรูปธรรม จนเกิดกลไกในการส่งเสริมธรรมาภิบาลในแต่ละภาคส่วนเป็นระบบนิเวศ กลายเป็นพลังทางสังคมที่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบได้ต่อไป

ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ผู้เขียนขอยกตัวอย่างตามกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ประการแรก การสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลเพื่อความโปร่งใส คณะทำงาน ฯ ประสานงานเพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคสื่อสารมวลชน ภาคการเมือง ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในประเด็นต่างๆ เพื่อร่วมจัดงาน “Hack Thailand 2575:48 ชั่วโมง พลิกโฉมประเทศไทย สู่ภาพอนาคตหลังเลือกตั้ง” การจัดงานในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปิดพื้นที่ให้ประชาชนจากหลากหลายภาคส่วนมีโอกาสระดมความคิดและสร้างสรรค์นโยบายสาธารณะรวมถึงการเข้าร่วมฟังและตอบรับนโยบายจากตัวแทนพรรคการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

นอกจากนี้คณะทำงานฯ ประสานความร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ เช่น สำนักข่าว PPTVHD งานร้อยพลังสื่อ มูลนิธิเพื่อคนไทย สถานีวิทยุ 96.5 รายการคนค้นฅน สถานีโทรทัศน์ อสมท. สำนักข่าวอมรินทร์ทีวี สถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย (NDI) และแกนนำเครือข่ายภาคประชาชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ในการประชาสัมพันธ์เครื่องมือ ACT Ai และนำเสนอแนวทางการดำเนินงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ เช่น การร่วมเป็นวิทยากรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการร่วมเป็นวิทยากรบรรยายเพื่อให้ความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องมือACT Ai การสัมภาษณ์ผ่านรายงานวิทยุ และการสัมภาษณ์ผ่านรายการต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้สู่สังคมในวงกว้าง

ประการที่สอง การสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้และมีส่วนร่วม คณะทำงานฯ ร่วมมือกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) จัดทำสื่อ Infographic สรุปนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันของพรรคการเมืองช่วงเลือกตั้ง 2566 มีการเผยแพร่ข้อมูลบนเฟซบุ๊กเพจองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน และมีการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ร่วมกันเผยแพร่ผ่านช่องทางการสื่อสารขององค์กรเพื่อสร้างการรับรู้สู่สังคมในวงกว้าง นอกจากนี้คณะทำงาน ฯ มีการประสานงานร่วมกับงานร้อยพลังสื่อ มูลนิธิเพื่อคนไทย ในการประชาสัมพันธ์ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (KRAC) และแนะนำกลไกการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันสำหรับประชาชน ผ่านการเปิดพื้นที่สื่อกลางให้ทุกคนสามารถร่วมแก้ปัญหาคอร์รัปชันของเพจต้องแฉ ผ่านสถานีวิทยุ FM 96.5 ในรายการเวทีความคิด

ประการที่สาม การสร้างพลังประชาชนในการเฝ้าระวังผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยทีมงานเพจต้องสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านการใช้งานเครื่องมือฟ้องโกงด้วยแชตบอต(Corruption Watch) ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนการเข้าถึงเครื่องมือผ่านการเพิ่มเพื่อนใน LINE Official Account รวมทั้งหมดจำนวน 539 Users มีการใช้งานเพื่อแจ้งเบาะแสรวมทั้งสิ้น
121 เรื่อง และมีการเผยแพร่และรายงานสถานะบนเว็บไซต์ cs.actai.co รวมทั้งหมด 101 เรื่อง นอกจากนี้ทีมงานเพจต้องแฉสร้างความร่วมมือกับเทใจดอทคอม โดยขอรับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานผ่านแฟลตฟอร์มเทใจ ประชาชนที่มีความสนใจสามารถร่วมสนันสนุนโดยบริจาคผ่านช่องทางเทใจได้ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2566

ประการสุดท้าย การสนับสนุนความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม คณะทำงาน ฯ ร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าและเครือข่าย ขยายผลรายงานการศึกษาการเปิดเผยข้อมูลของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาบนเว็บไซต์รัฐสภาไทย โดยนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เยาวชนกับการออกแบบนวัตกรรมสู่การเป็นรัฐสภาแบบเปิด (Open Parliament) ระหว่างวันที่ 28-30 มิถุนายน 2566 การจัดกิจกรรมในครั้งนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันออกแบบนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการเป็นรัฐสภาแบบเปิดของรัฐสภาไทย รวมถึงนำเสนอนวัตกรรมแก่ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคีเครือข่ายและรวบรวมข้อเสนอแนะต่างๆจัดทำเป็นเอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อเสนอแก่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาต่อไป

ผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาเป็นเพียงบางส่วนของความสำเร็จที่เกิดจากการสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคีเครือข่ายที่ต้องการขับเคลื่อนงานร่วมกัน ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าโครงการร้อยพลังสร้างเสริมธรรมาภิบาล
(Collaboration for Good Governance) จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างความหวังให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน องค์กรภาคีเครือข่าย หรือประชาชนทั่วไป ให้เห็นว่าในสังคมไทยยังมีหน่วยงานอีกมากมายที่พร้อมร่วมกันสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานธรรมาภิบาลให้สังคมดียิ่งขึ้น

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง

พัชรี ตรีพรม

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : โอปป้า เพื่อระบบที่ดีสร้างสังคมยั่งยืน

โอปป้าจ๋าช่วยด้วยยยย ! ทำไมคอร์รัปชันยังไม่หมดไปสักที หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ทำไมเราถึงอยากปฏิรูปการศึกษาก็ทำไม่ได้ อยากป้องกันทรัพยากรธรรมชาติก็ทำได้ยากเพราะมีคนแย่งหาผลประโยชน์กันเต็มไปหมด หรือแม้แต่การสร้างสวัสดิการที่ดีให้กับประชาชนก็ดันไม่ถึงมือประชาชนอีก ซึ่งส่วนหนึ่งอาจมาจากการคอร์รัปชันที่ยังไม่สามารถแก้ไขให้หมดไปได้นั่นเอง

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เวทีต้านโกงระดับโลก เขาพูดคุยอะไรกัน

4 ประเด็นน่าสนใจจาก “Summit for Democracy 2023” การประชุมระดับโลกเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา HAND Social Enterprise HANDSocialEnterprise ได้รับเชิญจากรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปร่วมเสวนาในงาน Summit for Democracy 2023 หัวข้อหลักงานปีนี้คือ “การต่อต้านคอร์รัปชัน” เชื่อมโยงคำอธิบายว่า การคอร์รัปชันบ่อนทำลายประชาธิปไตย ในทางกลับกันประเทศที่ประชาธิปไตยไม่เข้มแข็งจะทำให้คอร์รัปชันสูงขึ้น

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เรามีคนโกงเพิ่มขึ้น หรือ เราจับคนโกงได้มากขึ้น

แจ้งไม่เยอะแน่นะวิ ! ปี 65 พบการแจ้งเรื่องทุจริตเกือบ 10,000 เรื่องในไทย เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทั้งๆ ที่มีหน่วยงานปราบโกงที่มีอำนาจทางกฎหมายล้นเหลืออยู่หลายหน่วยงาน ทำไมระดับการคอร์รัปชันของไทยยังดูจะแย่ลงเรื่อยๆ

You might also like...

KRAC The Experience | EP 6: Academic driven The Anti-Corruption

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า “นอกจากภาครัฐและประชาชนแล้ว…ใครที่สามารถมีส่วนสำคัญ ในการต่อต้านคอร์รัปชันได้ ?” ร่วมไขข้อสงสัยได้ที่ KRAC The Experience ตอน “Academic driven The Anti-Corruption !”

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ