KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I จีนแก้กฎหมายอาญา หวังลดปัญหาทุจริตภาคเอกชน

คนรับ-คนจ่ายสินบนต้องโดนโทษอะไรบ้าง ?

การคอร์รัปชันในภาคเอกชนเป็นหนึ่งในปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไม่แพ้การคอร์รัปชันในภาครัฐ เพราะทำให้เกิดการชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างภาพลักษณ์ความไม่โปร่งใสให้กับประเทศ ทำให้ภาครัฐขาดรายได้ และการ “ติดสินบน” เป็นหนึ่งในปัญหาคอร์รัปชันในภาคเอกชนที่สร้างความเสียหายรุนแรงเป็นอันดับต้น ๆ อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับการคอร์รัปชันในภาครัฐ ประเทศจีนซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันจึงได้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันปัญหาการติดสินบน เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายต้องการให้การป้องกันการติดสินบนในภาคเอกชนมีความเข้มงวดมากขึ้น

เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ปี 2566 คณะกรรมการสภาประชาชนแห่งชาติจีน (National People’s Congress: NPC) จึงได้มีการออกมาประกาศแก้ไขกฎหมายอาญาของประเทศเกี่ยวกับการเพิ่มความรุนแรงในบทลงโทษและเพิ่มความครอบคลุมของกฎหมายในการป้องกันติดสินบนในภาคเอกชน โดยผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ปี 2567 ที่ผ่านมา

ตัวอย่างการแก้ไขกฎหมายที่มีการ “เพิ่มโทษที่ครอบคลุมไปถึงภาคเอกชน” เช่น มาตรา 165 ที่ระบุว่าห้ามพนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูงทำธุรกิจส่วนตัวที่คล้ายกับกิจการที่พวกเขาทำงานอยู่หรือหาผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่ หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 3 ถึง 7 ปี และปรับเงิน “ซึ่งโทษนี้จะรวมไปถึงพนักงานระดับสูงของเอกชนด้วย”

กฎหมายยังมีการ “ปรับเพิ่มบทลงโทษผู้ที่เรียกสินบน” เช่น มาตรา 387 หากพบว่าหน่วยงานหรือองค์กรใดมีการเรียกสินบน จากเดิมหน่วยงานหรือองค์กรนั้นจะต้องถูกปรับและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงจะมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี แต่ปัจจุบันมีการเพิ่มโทษโดยปรับเป็น หน่วยงานหรือองค์กรจะต้องถูกปรับเงิน และหัวหน้าหน่วยงานหรือองค์กรรวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี

นอกจากนี้ยังมีการ “ปรับเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ติดสินบน” เช่น มาตรา 390 ที่ระบุว่าบุคคลใดก็ตามที่ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ จากเดิมมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี แต่ไม่มีการปรับเงิน ปรับเป็น มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่จะมีการปรับเงินเพิ่ม แต่หากเป็นทำผิดที่ร้ายแรงจะมีโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี หรือประหารชีวิต และต้องชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดของการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น

กฎหมายยัง “ปรับเพิ่มบทลงโทษครอบคลุมไปถึงบริษัท” เช่น มาตรา 393 บริษัทที่ติดสินบนหน่วยงานรัฐ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากเดิมจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับเป็น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี แต่หากเป็นกรณีที่รุนแรงจะจำคุกไม่เกิน 10 ปี

การปรับกฎหมายใหม่ของประเทศจีน แสดงให้เห็นถึงความพยายามให้กฎหมายมีบทลงโทษที่ครอบคลุมและมีความรุนแรงมากขึ้นเพื่อลดปัญหาการติดสินบนภาคเอกชน หากการปรับกฎหมายของจีนครั้งนี้สามารถลดการติดสินบนได้ ในอนาคตนี่อาจจะเป็นแนวทางสำคัญที่เราสามารถถอดบทเรียนและนำมาเป็นตัวอย่างได้ แต่ตอนนี้กฎหมายเพิ่งมีการปรับใช้และเรายังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ประเทศมหาอำนาจ มีแนวทางแก้ปัญหาคอร์รัปชันท้องถิ่นอย่างไร ?

ชวนศึกษารูปแบบองค์กรปกครองท้องถิ่นสหรัฐฯ หนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีทั้งการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีอิทธิพลต่อโลกในหลายด้าน เช่น วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการคอร์รัปชันได้ดีเป็นอันดับที่ 24 ของโลกจากการจัดอันดับดัชนีการรับรู้การทุจริตขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | CPI ไม่ใช่ทุกคำตอบของปัญหาคอร์รัปชัน

หากเราต้องการเห็นภาพรวมการทุจริตในประเทศไทยจริง ๆ การพูดคุยหรือเก็บข้อมูลจากประชาชน อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีการที่งานวิจัย เรื่อง “คอร์รัปชันในระบบราชการไทย การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน” ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพการคอร์รัปชันในไทย มุมมองและประสบการณ์ของประชาชน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ