บทความวิจัย | กว่าจะถึงการออกเสียงประชามติ…ก็ยังไม่สายเกินไป

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 นับเป็นการเปิดโอกาสครั้งแรกให้ประชาชนมีสิทธิประชาธิปไตยทางตรงในการให้ความเห็นชอบ หรือไม่ให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อควบคุมการใช้อำนาจ ไม่ให้หย่อนประสิทธิภาพและควบคุมเกิดการทุจริตคอร์รัปชันได้

 

บทความนี้ มุ่งเน้นถึงการพิจารณาข้อกังวัลต่อกระบวนการลงประชามติในปัจจุบัน ซึ่งอาจไม่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แท้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ดังนี้ 

 

  • ความท้าทายของการลงประชามติ คือ อุปสรรคด้านระยะเวลาในการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (15-30 วัน) ซึ่งมีความซับซ้อนของเอกสารสูง โดยผู้เขียนเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และฉบับเก่า โดยให้เน้นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและเหตุผลในการแก้ไข รวมถึงประเด็นที่สร้างความสับสน เช่น การลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างวุฒิสภา เป็นต้น
  • การเปรียบเทียบกระบวนการลงประชามติของต่างประเทศ โดยได้เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้เเก่ ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา อิตาลี และสวีเดน โดยเน้นถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นกลาง ความชัดเจนของคำถาม และเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้มาใช้สิทธิในการลงประชามติ เป็นต้น
  • บริบทการลงประชามติของไทย แม้ว่าไทยเคยมีบทบัญญัติเรื่องการลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีการลงประชามติจริง โดยได้ตั้งข้อสังเกตว่าบทบัญญัติเรื่องการลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ มักเกี่ยวข้องกับพระบรมราชโองการหรือการอนุมัติจากสภา ซึ่งแตกต่างจากการลงประชามติในครั้งนี้ที่บัญญัติไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว รวมถึงการไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้มาใช้สิทธิในการลงประชามติในกระบวนการปัจจุบัน
  • ข้อเสนอแนะต่อการลงประชามติ ผู้เขียนได้จัดทำข้อเสนอแนะสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ อาทิ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ควรมุ่งสื่อสารอย่างเปิดเผย เพื่อแก้ไขข้อสงสัยของประชาชน  รัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ควรใช้ทรัพยากรเในการให้ความรู้ประชาชนอย่างกว้างขวาง และการเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทีย คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรรักษาความเป็นกลางและความโปร่งใสของกระบวนการ  สื่อมวลชน ควรให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและกระบวนการลงประชามติเเละประชาชน ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อพิจารณาเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ และการลงคะแนนอย่างอิสระ

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เรืองโรจน์ จอมสืบ. (2550). กว่าจะถึงการออกเสียงประชามติ…ก็ยังไม่สายเกินไป. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(1), 118.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2550
ผู้แต่ง

เรืองโรจน์ จอมสืบ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

ในปัจจุบัน การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนสมัยใหม่หรือจีนร่วมสมัยในสังคมไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเรื่อง “ทุนจีนเทา”(Grey Capital) นับเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจ เนื่องมาจากความเชื่อมโยงของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของพื้นที่ในสังคมไทยที่ทุนจีนเทาเหล่านี้เข้าไปมีอิทธิพลและดำรงอยู่

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ชวนรู้จัก TI กับ 6 ประเด็นใหญ่ที่ผลักดันความโปร่งใส ปี 2024

เพราะการต่อต้านคอร์รัปชันต้องสร้างความโปร่งใสชวนดู 6 ประเด็นที่ TI ผลักดันเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ? ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย

KRAC Hot News I เมื่ออคติทางเพศเปิดทางให้เกิดการคอร์รัปชัน ทางออกอยู่ที่ธรรมาภิบาล

บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกในสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเพศของไทย การคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยธรรมาภิบาล