บทความวิจัย | การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี)

ในยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี (Technology Disruption) ทําให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นในกระบวนการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอแนวทางการบริหารจัดการการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบโดยเครือข่ายภาคประชาชน โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์ที่ทันสมัยในยุคเทคโนโลยีพลิกผันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้วิธีการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบริหารจัดการเครือข่ายการต่อต้านการทุจริต 

 

ผลการศึกษา พบว่า การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จําเป็นต้องอาศัยสื่อสังคมออนไลน์กับการบริหารจัดการเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐ โดยใช้งานเป็นช่องทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การประสานงานการทํากิจกรรม และการขับเคลื่อนเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตในภาครัฐและภาคประชาชนให้มีความยั่งยืน 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศรินนา ศิริมาตย์. (2565). การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น (ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยี). วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 2538.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

ศรินนา ศิริมาตย์ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

KRAC Insight | เกมแห่งแรงจูงใจ: ถอดบทเรียนกฎหมายผ่อนผันโทษผ่านมุมมองทฤษฎีเกม

KRAC INSIGHT ชวนเจาะลึกว่าทำไมกฎหมายผ่อนผันโทษจึงซับซ้อน และทำงานเหมือน Prisoner’s Dilemma ที่จูงใจผู้ร่วมขบวนการให้หักหลังกันเอง !

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : พัฒนาทักษะการสื่อสารด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์

สัญลักษณ์ มักถูกใช้ในการเรียกสิ่งหนึ่งแทนการเรียกตรงๆ โดยอาจจะเกิดจากการเปรียบเทียบหรือการตีความออกมาเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้ ซึ่งนับเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มนุษย์ใช้กันนอกเหนือจากการเขียนข้อความ ในสังคมของเรามีการใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การสร้างชุมชนที่โปร่งใสต้องเริ่มต้นที่ตรงไหน จึงจะสำเร็จ ?

“พลังของชุมชน” สามารถเป็นด่านแรกในการป้องกันการทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อชุมชนมีระบบภายในที่เข้มแข็งและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง