บทความวิจัย | การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา 

 

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน  เพื่อนำไปออกแบบและสร้างคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา 

 

โดยวิธีการศึกษาแบบสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพและแนวทางในการส่งเสริมและหลักสูตรด้านคุณธรรมและจริยธรรมในสถานศึกษา การออกแบบคู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของคู่มือฯ จากการสำรวจความพึงพอใจด้วยแบบสอบถามในสถานศึกษาที่ได้ทดลองใช้คู่มือฯ ที่ได้รับการออกแบบ

 

ผลจากการศึกษา ได้องค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา และได้เทคนิคการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา

 

สำหรับข้อเเนะเชิงนโยบาย ระบุว่า ควรสนับสนุนให้ครูผู้สอนร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือว างแผนและเตรียมจัดทํากิจกรรมเพื่อนําคู่มือที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงควรจัดให้มีการนิเทศติดตามและประเมินผลการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องภายในสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแลกเปลี่ยนสะท้อนคิดร่วมกัน

 
เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

สันติ ทองแก้วเกิด. (2565). การพัฒนาคู่มือแนวทางการนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 307–324.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง

สันติ ทองแก้วเกิด

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : จีนกระจุก เทากระจาย: มอง ‘ทุนจีนเทา’ ที่กลืนกลายอยู่ในสังคมไทยผ่านมุมมองสังคมวิทยา

ในปัจจุบัน การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับจีนสมัยใหม่หรือจีนร่วมสมัยในสังคมไทย คงปฏิเสธไม่ได้ว่าประเด็นเรื่อง “ทุนจีนเทา”(Grey Capital) นับเป็นหนึ่งในหัวข้อที่ผู้คนต่างก็ให้ความสนใจ เนื่องมาจากความเชื่อมโยงของปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง และวัฒนธรรมของพื้นที่ในสังคมไทยที่ทุนจีนเทาเหล่านี้เข้าไปมีอิทธิพลและดำรงอยู่

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I ชวนรู้จัก TI กับ 6 ประเด็นใหญ่ที่ผลักดันความโปร่งใส ปี 2024

เพราะการต่อต้านคอร์รัปชันต้องสร้างความโปร่งใสชวนดู 6 ประเด็นที่ TI ผลักดันเมื่อปี 2024 ที่ผ่านมา จะมีอะไรบ้าง ? ติดตามอ่านได้ที่นี่เลย

KRAC Hot News I เมื่ออคติทางเพศเปิดทางให้เกิดการคอร์รัปชัน ทางออกอยู่ที่ธรรมาภิบาล

บทความนี้จะพาทุกท่านไปเจาะลึกในสถานการณ์การเลือกปฏิบัติทางเพศของไทย การคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ และแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยธรรมาภิบาล