บทความวิจัย | การพัฒนาสื่อแอนิเมชันรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติเยาวชนไทย เพื่อโครงการบัณฑิตไทย โตไปไม่โกง

เมื่อสื่อแอนิเมชัน 3 มิติช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทุจริตทางการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริต ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดกรณีทุจริตในระบบการศึกษาได้
 

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาออกแบบสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ เพื่อรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติในการหยุดการทุจริตทางการศึกษา เนื่องจากปัจจุบันเยาวชนไทยส่วนใหญ่คิดว่าการทุจริตทางการศึกษาเป็นเรื่องที่ไม่ผิด เมื่อเยาวชนมีโอกาสหรือช่องทางในการทุจริตก็จะลงมือกระทำทันทีโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมา  

 

ปัจจุบันจากผลสำรวจการทุจริตในประเทศไทยสถิติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหา จึงจัดตั้งโครงการ “บัณฑิตไทย โตไปไม่โกง” เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวัฒนธรรมของคนไทย ให้รักความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบ รังเกียจการโกงและไม่ยอมให้ใครโกง แต่ยังมีข้อด้อยของสื่อที่ยังไม่สามารถดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมายมากพอ จึงศึกษาแนวทางการสร้างสื่อที่เหมาะสมเพื่อนำสื่อมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรณรงค์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อปัญหาการทุจริต โดยใช้สื่อแอนิเมชัน 3 มิติ ความยาวไม่เกิน 3 นาที

  

จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตทางการศึกษา หลักการทางจิตวิทยาความต้องการของมนุษย์ ร่วมกับการค้นคว้าทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการออกแบบแอนิเมชัน 3 มิติ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อดำเนินการออกแบบในกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษาอายุระหว่าง 18-23 ปี พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในสื่อแอนิเมชัน 3 มิติ โดย กลุ่มเป้าหมายสามารถตระหนักและมีทัศนคติที่ถูกต้องมากขึ้นเกี่ยวกับการทุจริตทางการศึกษา และถึงนึงผลเสียที่จะตามมาจนนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทุจริตทางการศึกษาได้ 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วันวิสาข์ พรมจีน. (2562). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติเยาวชนไทย เพื่อโครงการบัณฑิตไทย โตไปไม่โกง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(6), 15721589.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2562
ผู้แต่ง

วันวิสาข์ พรมจีน

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์

การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีออนไลน์มีประโยชน์มากมาย แต่ในอีกด้านก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านจริยธรรมที่เชื่อมโยงการทุจริตทางวิชาการ

You might also like...

องค์กรอิสระกับการสร้างประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้: กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ทั้งสองหน่วยงานยังมีงบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แล้วใครตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.

ถ้าสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส (ปชช) ทำอะไรได้บ้าง ? และหากประชาชนจะตรวจสอบสำนักงาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนถอดรหัส “วัฒนธรรมองค์การต้านโกง” จาก ฮ่องกง สิงคโปร์และฟินแลนด์

ชวนส่องแนวทางสร้างค่านิยมสุจริตจาก 3 ชาติที่โปร่งใส ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่น่าสนใจที่ไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้