บทความวิจัย : การแก้ปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม

หิริโอตตัปปะ ฆรวาสธรรม และทิศ 6 หลักธรรมที่ควรนำมาประยุกเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาคอร์ชันในยุคดิจิทัล เพราะการแก้ปัญหาอาจต้องย้อนกลับไปแก้ไขที่รากเหง้า คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

 

เนื่องจากการทุจริตคอรัปชันนั้นฝังรากลึกในสังคมเป็นเวลานาน เป็นอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ด้วยผลเสียที่มีมากมาย สังคมจึงควรเกิดการตื่นตัวและร่วมกันคิดหามาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันและปราบปรามอย่างเป็นรูปธรรม

 

จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันที่ผ่านมา ทั้งหน่วยงานรัฐ และเอกชน รวมถึงนักวิชาการต่างๆ พยายามนำเสนอทางออก และแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ก็ยังไร้ผล ทำให้รัฐบาลจะต้องกลับมาทบทวนเพื่อหาแนวทางการในการแก้ไขปัญหาถึงรากเหง้าอย่างแท้จริงโดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ และความเกรงกลัวต่อความชั่ว ซึ่งบทความวิชาการเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาคอรัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวคิดพุทธจริยธรรม

 

จากการศึกษาพบว่า พุทธจริยธรรมถือเป็นหลักการสำคัญในการปฏิบัติตนเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีและการอยู่ร่วมกันด้วยดีของสังคม แนวคิดพุทธจริยธรรมพยายามอธิบายได้ชัดเจนอย่างมากแต่ก็ถูกละเลยไปอย่างน่าเสียดาย โดยเฉพาะหิริโอตตัปปะ ฆราวาสธรรม และทิศ 6 หากนำแนวคิดดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ผ่านกระบวนการสร้างระบบป้องกันที่ดี ปัญหาการทุจริตคอรัปชันจะลดน้อยลงไปในที่สุด 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วัชรมน จันทร์รอง และคณะ. (2564). การแก้ปัญหาคอร์รัปชันในยุคดิจิทัลตามแนวพุทธจริยธรรม. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 397-408.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • วัชรมน จันรอง  
  • พระมหาสังคม ช่างเหล็ก 
  • ธนวัฒน์ วิชัยสูง  
  • อรพิน พูนประสิทธิ์ 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

บทความวิจัย : นโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและการให้สินบน

การศึกษาสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชันและการให้สินบน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การปรับทัศนคติของสังคม และโครงสร้างทางอำนาจของรัฐ