แนวคิด “ขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล” โดย Barro ละเลยปัจจัยเรื่องการคอร์รัปชันในหน่วยงานรัฐ จนนำไปสู่การตั้งคำถามและการศึกษา ซึ่งพบว่า การคอร์รัปชันส่งผลกระทบเชิงลบต่ออัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด
Barro (1990) ระบุว่า ขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล (The optimal size of the government sector) หมายถึง ขนาดของรัฐบาลที่สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุด (The maximum growth rate) อย่างไรก็ตาม แบบจําลองของ Barro ถูกสร้างขึ้นภายใต้ข้อสมมติเป็นนัย ๆ ว่าไม่มีคอร์รัปชันในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล และเนื่องจากแนวคิดดังกล่าวไม่สมจริง บทความนี้จึงตั้งคําถาม 2 ข้อเกี่ยวกับแบบจําลองของ Barro ข้อแรก คอร์รัปชันส่งผลกระทบต่อขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลหรือไม่ อย่างไร ข้อที่สองอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากคอร์รัปชั่นด้วยหรือไม่ อย่างไร
บทความนี้ ได้กําหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับพฤติกรรมทุจริตของเจ้าหน้าที่ไว้ 2 ข้อ ข้อแรกเจ้าหน้าที่จะตัดสินใจกระทําทุจริตก็ต่อเมื่อสามารถกระทําทุจริตได้สําเร็จโดยไม่ถูกตรวจสอบพบและพฤติกรรมทุจริตของเจ้าหน้าที่มีคุณสมบัติแบบ Two-State Markov Chains ข้อสอง คอร์รัปชันหมายถึงการให้บริการสาธารณะต่ำกว่ารายจ่าย (รายรับ) ของรัฐบาล
เมื่อเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อถูกเพิ่มเติมลงไปในแบบจําลองของ Barro ผลลัพธ์ที่ได้ปรากฎออกมาว่า ขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลไม่ได้รับอิทธิพลใด ๆ จากคอร์รัปชัน ในทางตรงกันข้ามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากคอร์รัปชันและมีความสัมพันธ์ในทิศทางลบกับ (1) ความสามารถในการสร้างเครือข่ายคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ (2) ความสามารถในการกระทําทุจริตของเจ้าหน้าที่
รูปแบบ APA
ปรัชญา ปิ่นมณี. (2552). คอร์รัปชันกับขนาดที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 27(3), 67-91.
ปรัชญา ปิ่นมณี
หัวข้อ
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก
เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง