บทความวิจัย | ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การศึกษาธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรี ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อหาปัจจัยต่อที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาลและเสนอกลยุทธ์การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น
 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาล ในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะกลยุทธ์การสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีขึ้น  

 

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและแบบคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณนั้น กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยประกอบด้วยประชากร จำนวน 346 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรี จำนวน 20 จังหวัด จำนวน 847 คน พนักงานเทศบาล ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดและผู้รับผิดชอบงานบริหารงานบุคคล จำนวน 20 จังหวัดโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการศึกษาโดยการทบทวนวรรณกรรมเอกสารต่าง ๆ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-participatory observation) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interviews) ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานในเขตเทศบาลในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 17 คน  

 

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับธรรมาภิบาลของนายกเทศมนตรีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในระดับปานกลาง 2) กลยุทธ์ในการสร้างหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลักความรับผิดชอบ หลักยุติธรรม หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ 4) ปัญหาการบริหารงานบุคคลมีสาเหตุจากการแสวงหาผลประโยชน์หรือคอร์รัปชัน โดยเฉพาะการทุจริตในการบรรจุแต่งตั้งพนักงานและการช่วยเหลือพวกพ้อง 5) แนวทางการแก้ไขปัญหาประกอบด้วยการเสริมสร้างความรู้และจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต การสร้างคุณธรรมในองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรัฐทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการทุจริตในประชาชน เพื่อร่วมกันป้องกันและสร้างค่านิยมที่เหมาะสมในสังคม

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

เกษศิริญญา บูรณะกิติ. (2560). ธรรมาภิบาลในการบริหารงานบุคคลของนายกเทศมนตรีในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก, 3(2), 133-148.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2560
ผู้แต่ง

เกษศิริญญา บูรณะกิติ

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!