บทความวิจัย | ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์

การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีออนไลน์มีประโยชน์มากมาย แต่ในอีกด้านก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านจริยธรรมที่เชื่อมโยงการทุจริตทางวิชาการ

 

ประเด็นด้านจริยธรรมในการเรียนรู้ออนไลน์เริ่มมีตั้งแต่มีการใช้เทคโนโลยีการเรียนรู้ทางไกลในระบบการศึกษาโดยการเรียนรู้ออนไลน์มีประโยชน์หลายประการ ได้แก่ สามารถศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายที่ถูก มีความยืดหยุ่นและสะดวกสบายในการเข้าชั้นเรียนหรือร่วมชั้นเรียนในพื้นที่ของตนเอง อย่างไรก็ตามปัญหาด้านจริยธรรมเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาโดยผู้นำด้านการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ครูและนักเรียน 

                 

บทความฉบับนี้ ค้นหาปัญหาทางจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ ซึ่งได้ทำการศึกษาจากการวิเคราะห์ของงานวิจัยล่าสุด จำนวน 6 เรื่อง โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้นำเสนอประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีในการเรียนรู้ออนไลน์ 3 ประเด็น ได้แก่ การทุจริตทางวิชาการ ความเหมาะสมของเทคโนโลยีและการใช้เทคโนโลยี รวมถึงการยินยอมและการรักษาความลับ ซึ่งผลการศึกษาปรากฏว่า การร่วมมือกันเพื่อคัดลอกและทุจริตทางวิชาการโดยใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างการสอบเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในกรณีการทุจริตในระบบการศึกษา 

  

นอกจากนี้ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) อย่างไม่เท่าเทียม ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพการศึกษาที่ลดลง การขาดทักษะด้านดิจิทัล ความแตกต่างของทางเลือกด้านดิจิทัล ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีและความล้าสมัย เป็นประเด็นที่ถกเถียงถึงเรื่องของความเหมาะสมและการใช้งานของเทคโนโลยีในขณะที่ในขณะที่การใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรียนและการประเมินข้อมูลสาธารณะกลับเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความยินยอมและการรักษาความลับ 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

Junwerlo M. Ng & Rodrigo, R. T. (2565). ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 22(2), 147-163.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • Junwerlo NG  
  • Russell Rodrigo 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์

การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีออนไลน์มีประโยชน์มากมาย แต่ในอีกด้านก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านจริยธรรมที่เชื่อมโยงการทุจริตทางวิชาการ

You might also like...

องค์กรอิสระกับการสร้างประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้: กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ทั้งสองหน่วยงานยังมีงบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แล้วใครตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.

ถ้าสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส (ปชช) ทำอะไรได้บ้าง ? และหากประชาชนจะตรวจสอบสำนักงาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนถอดรหัส “วัฒนธรรมองค์การต้านโกง” จาก ฮ่องกง สิงคโปร์และฟินแลนด์

ชวนส่องแนวทางสร้างค่านิยมสุจริตจาก 3 ชาติที่โปร่งใส ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่น่าสนใจที่ไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้