ในมุมมองทางปรัชญา คอร์รัปชันเป็นการทำลายระบบที่มีอยู่อันเป็นอุปสรรคไม่ให้เป็นไปตามระบบที่ควรจะเป็น ซึ่งปัญหานี้สามารถจัดการได้ด้วยแนวทางของปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
คอร์รัปชันเป็นภาวะความเป็นจริงที่สืบทอดยาวนานในทุกระบบของสังคมและสร้างปัญหาแก่มนุษยชาติในหลายมิติ ท่าทีต่อการคอร์รัปชันและการต่อสู้ป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันแตกต่างกันไปตามแต่ละกระบวนทรรศน์ ผู้วิจัยจึงต้องการหาคำตอบต่อคำถามวิจัยที่ว่า ปัญหาคอร์รัปชันสามารถแก้ไขด้วยปรัชญาหลังนวยุคสายกลางหรือไม่
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นเหตุผลและหลักในการป้องกันคอร์รัปชันที่เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน โดยใช้วิธีวิจัยทางปรัชญาอันได้แก่ วิภาษวิธีด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างฝ่ายตรงข้ามที่ยึดมั่นในปรัชญากระบวนทรรศน์นวยุคกับฝ่ายผู้วิจัยและผู้สนับสนุนความคิดของผู้วิจัย
ผลการวิจัยพบว่า ฝ่ายตรงข้ามมองว่าปัญหาคอร์รัปชันควรแก้ไขด้วยปรัชญานวยุค แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นแย้งและเสนอว่า ควรแก้ด้วยปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เนื่องจากคอร์รัปชันทำลายระบบที่มีอยู่ โดยบางครั้งคอร์รัปชันอาจถูกกฎหมายแต่ผิดจริยธรรม การอบรมที่เน้นเพียงหลักผลประโยชน์นิยมจึงไม่เพียงพอ ควรเน้นการสร้างสรรค์ การปรับตัว และการร่วมมือ เพื่อให้เกิดความสุขแท้เป็นเป้าหมายสำคัญ
รูปแบบ APA
พจมา มาโนช, กีรติ บุญเจือ, เอนก สุวรรณบัณฑิต และสิริกร อมกฤตวาริน. (2563). มรดกเชิงพลวัตรผ่านกระบวนทรรศน์ทั้งห้ากับการแก้ไขทุจริต: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(1), 247–256.
- พจนา มาโนช
- กีรติ บุญเจือ
- เอนก สุวรรณบัณฑิต
- สิริกร อมกฤตวาริน
หัวข้อ
โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน
เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่
โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2
จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ
โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป