บทความวิจัย : กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก

กบฎโพกผ้าเหลือง สะท้อนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวงในภาวะวิกฤตศรษฐกิจนำมาสู่การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดังนั้น เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง รัฐจะต้องมีมาตรการป้องกันการทุจริตคอรัปชัน ควบคู่ไปกับการดแลประชาชนให้อยู่ดีกินดี 

 

จากวรรณกรรมเรื่อง สามก๊ก มีการกล่าวถึง “กบฏโพกผ้าเหลืองซึ่งเป็นกบฏใหญ่ในปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออกที่มีกองกําลังเกิดขึ้นโดยการรวมตัวของประชาชน โดยมีปัจจัยสําคัญที่เกิดขึ้น 2 ประการ ได้แก่ 1) ราชสํานักมีการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง 2) สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างที่สุด กบฏกลุ่มนี้ได้ทําให้ความเชื่อมั่นในราชสํานักและกองทัพเสื่อมไป เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้เสถียรภาพทางการเมืองของราชวงศ์ฮั่นเริ่มสั่นคลอน และล่มสลายไปในที่สุด

  

การวิจัยนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์จากตัวบทวรรณกรรมเรื่อง “สามก๊ก” โดยศึกษาในประเด็นเรื่องกบฎโพกผ้าเหลืองที่สัมพันธ์กับมิติทางด้านการเมือง ทั้งนี้ เพื่อหาปัจจัยเชิงสาเหตุของการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งสามารถเป็นกรณีศึกษาในการพัฒนาเสถียรภาพทางการเมืองได้ต่อไป

 

จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาเรื่องกบฎโพกผ้าเหลือง สามารถเชื่อมโยงถึงการเมืองในไทยในประเด็นที่ว่า รัฐบาลไทยจะเกิดเสถียรภาพทางการเมืองได้อย่างมั่นคงจะต้องมีระบบการป้องการทุจริตคอรัปชันอันเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนในการที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศ และจะต้องดูแลประชาชนในเรื่องเศรษฐกิจทั้งระดับจุลภาคและมหภาคให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

พระมหาจักรพงศ์ คํายอดใจ และฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. (2564). กบฏโพกผ้าเหลือง กับเสถียรภาพทางการเมืองในวรรณกรรมสามก๊ก. วารสารธรรมวัตร, 2(2), 3946.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • พระมหาจักรพงศ์ คํายอดใจ  
  • ฟองจันทร์ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา 
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

You might also like...

บทความวิจัย : การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

เมื่อการประเมิน ITA ถูกประเมินเสียเอง พบว่า เครื่องมือประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐได้ (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย)

บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก