บทความวิจัย | มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต

การฟอกเงินเป็นการดําเนินการของอาชญากรด้วยวิธีการต่างๆ ที่ทําให้ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการกระทําความผิดเปลี่ยนสภาพเป็นผลประโยชน์ที่บุคคลทั่วไปเชื่อว่าได้มาอย่างถูกต้องกฎหมาย ในการเอาผิดผู้กระทำการฟอกเงินต้องพิจารณาความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นที่มีการกําหนดความผิดไว้

 

การศึกษาในครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเพื่อทบทวนมาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษากฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการฟอกเงินที่ได้จากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542   

 

ผลการศึกษา พบว่า มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต ยังมีปัญหาบางประการในด้านความไม่ชัดเจนของการกําหนดความผิดเกี่ยวกับการทุจริตตามมาตรา 3(5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542

 

จึงควรมีการแก้ไขกฎหมายโดยนําแนวทางการกําหนดการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริตของต่างประเทศมาปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ การกําหนดความผิดที่เกี่ยวกับการกระทําทุจริตให้ชัดเจนในการบังคับใช้และให้ครอบคลุมการทุจริตต่อหน้าที่ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน และควรกําหนดกฎกระทรวงที่มีตารางรายชื่อความผิดที่มาจากการกระทําทุจริตทั้งหมดที่ได้เงินหรือทรัพย์สินไว้

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ปัวิช ทัพภวิมล. (2561). มาตรการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่ได้มาจากการกระทําความผิดเกี่ยวกับการทุจริต. วารสารวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 8(2), 8293.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ปัวิช ทัพภวิมล

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Hot News I การท่องเที่ยวไทยสูญเสียอะไรให้กับการคอร์รัปชัน?

ในช่วงสงกรานต์ที่หลายคนออกเดินทางท่องเที่ยวหรือกลับบ้าน เราอยากชวนคุณมามอง “การท่องเที่ยวไทย” ในมุมที่อาจไม่ค่อยถูกพูดถึง นั่นคือ การคอร์รัปชัน ด้วยข้อมูลวิจัยและกรณีศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าปัญหาการคอร์รัปชันมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทยมากกว่าที่คิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การใช้ e-bidding เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน ?

ชวนสำรวจ e-bidding : เทคโนโลยีการจัดซื้อจ้างออนไลน์ลดคอร์รัปชัน โดยจะพาไปดูผลการใช้งานระบบจริงจากทั้ง 3 กรมว่าเป็นอย่างไร ? แล้วเราจะทำอย่างไรให้ระบบ e-bidding มีประสิทธิภาพมากขึ้น

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | โควิดเป็นเหตุ: สำรวจสถานการณ์ทุจริตที่เพิ่มขึ้นในช่วงโรคระบาด

การระบาดของโควิด-19 นำมาซึ่งวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยพบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าการให้และเรียกรับสินบนในภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นในช่วงโควิด-19 แล้วเราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ? อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้เลย