บทความวิจัย | มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตำบล: ความคิดเห็นของกำนันและผู้ใหญ่บ้านจังหวัดลำปาง

กรณีศึกษาในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดลำปาง พบว่ากลไกการตรวจสอบยังไม่สามารถจะยับยั้งการทุจริตคอร์รัปชันได้ ดังนั้น จึงควรปรับปรุงมาตรการในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพราะระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็ง สามารถลดการกระทำทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญของมูลเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดลำปาง 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดลำปาง และ 3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดลำปาง  

 

โดยบทความวิจัยนี้ มีวิธีการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถามผู้ดำรงตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลำปาง จำนวน 400 ชุด และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ  

 

ผลการวิจัยพบว่า กลไกการตรวจสอบ ระบบอุปถัมภ์ และค่านิยม ล้วนส่งผลต่อการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดลำปาง แสดงให้เห็นถึงกลไกการตรวจสอบว่ายังไม่สามารถยับยั้งการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงระบบอุปถัมภ์และค่านิยมที่ถ่ายทอดต่อกันมาจนนำไปสู่ความเต็มใจในการกระทำทุจริต

 

ดังนั้น แนวทางการแก้ไขจึงควรหามาตรการในการตรวจสอบอย่างเข้มข้น โดยการเพิ่มหน่วยงานหรือบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ทั้งในระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัดแทนหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ไม่เพียงพอต่อปริมาณงาน รวมถึงการกำหนดบทลงโทษให้รุนแรงยิ่งขึ้น เช่น การให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนภายหลังที่มีการตรวจสอบว่ามีการทุจริตคอร์รัปชัน เมื่อมีระบบการตรวจสอบที่เข้มแข็ง จะสามารถลดการกระทำทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเป็นรูปธรรม 

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์. (2561). มูลเหตุที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์การบริหารส่วนตบล: ความคิดเห็นของกนันและผู้ใหญ่บ้านจังหวัดลปาง. วารสารการบริหารการปกครอง, 7(2), 542567.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง

ัฏฐ์ดนัย ประเทืองบริบูรณ์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นและการเฝ้าระวังติดตามการคอร์รัปชันโดยชุมชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษา : พื้นที่อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และสถานการณ์ธรรมาภิบาลและการคอร์รัปชันในระดับพื้นที่ รวมถึงระบบและกลไกทางสังคมต่อการจัดการ และป้องกันปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม

You might also like...

บทความวิจัย | ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงด้านบุคคล ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบกับความเสี่ยงการรายงานทางการเงิน: กรณีศึกษาจากผู้ตรวจสอบภาครัฐ

การวิจัยนี้วิเคราะห์ความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยความเสี่ยงที่มีต่อความเสี่ยงในการรายงานทางการเงิน เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวทางในการต่อต้านการทุจริตในทั้งภาครัฐและเอกชน

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | การพัฒนาสื่อแอนิเมชันรณรงค์ปรับเปลี่ยนทัศนคติเยาวชนไทย เพื่อโครงการบัณฑิตไทย โตไปไม่โกง

เมื่อสื่อแอนิเมชัน 3 มิติช่วยเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทุจริตทางการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการทำให้นักศึกษาเข้าใจถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการทุจริต ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดกรณีทุจริตในระบบการศึกษาได้