บทความวิจัย | รูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

การทุจริตในแวดวงการศึกษาของไทยเป็นปัญหาสำคัญ เช่น การจ่ายแป๊ะเจี๊ยะเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง รวมถึงการทุจริตในโรงอาหารของสถานศึกษาขนาดเล็ก สถานการณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวในการป้องกันการทุจริตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตที่จะส่งผลเสียแก่สถานศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

 

โดยใช้วิธีการศึกษาจากการสำรวจผู้บริหารและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 50 คน แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

 

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าสถานศึกษามีสภาพการป้องกันในระดับมากในสามด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมการต้านทุจริต การบริหารจัดการในการป้องกันการทุจริต และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยด้านการมีส่วนร่วมมีความโดดเด่นที่สุด นอกจากนี้ การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ แนวคิดและวัตถุประสงค์ เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักและแนวทางดำเนินการ และเงื่อนไขความสำเร็จ สำหรับการประเมินรูปแบบการป้องกันการทุจริต พบว่า มีความเหมาะสม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปใช้ในสถานศึกษา

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ชุติกาญจน์ แม้นเมฆ. (2565). รูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 22(3), 4150

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • ชุติกาญจน์ แม้นเมฆ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | เครือข่ายกลุ่มอิทธิพลกับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา: กรณีศึกษาการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอล และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู

การทุจริตคอร์รัปชันของภาคการศึกษาเกิดจากเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลระหว่างนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และพ่อค้าหรือนักธุรกิจที่มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการขาดระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งจึงเอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!