บทความวิจัย | รูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

การทุจริตในแวดวงการศึกษาของไทยเป็นปัญหาสำคัญ เช่น การจ่ายแป๊ะเจี๊ยะเพื่อเข้าศึกษาในโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง รวมถึงการทุจริตในโรงอาหารของสถานศึกษาขนาดเล็ก สถานการณ์นี้ชี้ให้เห็นถึงความล้มเหลวในการป้องกันการทุจริตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตที่จะส่งผลเสียแก่สถานศึกษา ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

 

โดยใช้วิธีการศึกษาจากการสำรวจผู้บริหารและครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำนวน 50 คน แล้วจึงนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

 

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่าสถานศึกษามีสภาพการป้องกันในระดับมากในสามด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างจิตสำนึกและค่านิยมการต้านทุจริต การบริหารจัดการในการป้องกันการทุจริต และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยด้านการมีส่วนร่วมมีความโดดเด่นที่สุด นอกจากนี้ การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ แนวคิดและวัตถุประสงค์ เนื้อหาเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักและแนวทางดำเนินการ และเงื่อนไขความสำเร็จ สำหรับการประเมินรูปแบบการป้องกันการทุจริต พบว่า มีความเหมาะสม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปใช้ในสถานศึกษา

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ชุติกาญจน์ แม้นเมฆ. (2565). รูปแบบการป้องกันการทุจริตในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารวิชาการธรรมทัศน์, 22(3), 4150

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2565
ผู้แต่ง
  • ชุติกาญจน์ แม้นเมฆ
วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | เครือข่ายกลุ่มอิทธิพลกับการทุจริตคอร์รัปชันอย่างเป็นระบบในภาคการศึกษา: กรณีศึกษาการทุจริตคอร์รัปชันจากโครงการก่อสร้างสนามฟุตซอล และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู

การทุจริตคอร์รัปชันของภาคการศึกษาเกิดจากเครือข่ายกลุ่มอิทธิพลระหว่างนักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และพ่อค้าหรือนักธุรกิจที่มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ประกอบกับการขาดระบบตรวจสอบที่เข้มแข็งจึงเอื้อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “รังนก” ก็โกงได้ : ตรวจสอบช่องโหว่กลไกการให้สัมปทานรังนกไทย

ส่องกลไกสัมปทาน เมื่อการทุจริตรังนกอาจทำให้งบรั่วไหล หากไม่มีกลไกการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ แล้วเราจะป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไร ? โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการและการตรวจสอบการให้สัมปทานรังนกในภาคใต้ของประเทศไทย” (2562)

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : สงกรานต์เป็นเทศกาลแห่งความสุขของใครกันแน่

ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความสุขและความชุ่มฉ่ำในเทศกาลแห่งความสุขอย่างเทศกาลสงกรานต์ หรือวันปีใหม่ไทย ที่เต็มไปด้วยความหมายด้านวัฒนธรรม สังคม วันที่ 13-14 เมษายน ก็ยังเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และวันครอบครัวไทยอีกด้วย โดยตลอดช่วงเวลานี้ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาแห่งความอบอุ่นที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากมายได้เดินทางกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเพื่อไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ไปรวมญาติที่ไม่ได้พบกันนาน หรือไปเล่นน้ำคลายร้อนกัน

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | คอร์รัปชันในอุตสาหกรรมประมงไทย : ปัญหาที่กระทบเศรษฐกิจ สิทธิมนุษยชน และภาพลักษณ์ประเทศ

จะแก้อย่างไรถ้าอุตสาหกรรมประมงไทยคอร์รัปชัน ? ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงระดับโลกของไทยอีกด้วย โดย KRAC สรุปมาให้เเล้วจากงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์การทุจริตคอร์รัปชันขบวนการเครือข่ายนายหน้าแรงงานข้ามชาติเมียนมาในอุตสาหกรรมประมงต่อเนื่องของประเทศไทย” (2562)