บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

การศึกษาปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดพบว่า การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย การดำเนินการ การสนับสนุนด้านงานธุรการ และการประสานงานที่ดีทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน
 

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อ 1) วิเคราะห์ปัญหา กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในคดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาฐานทุจริตต่อหน้าที่ และ 2) วิเคราะห์ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจังหวัด ในการค้นหา ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐาน

 

โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดประชุมระดมสมองในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร และจังหวัดบุรีรัมย์

 

ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณเรื่องกล่าวหาและเรื่องกล่าวหาที่อยู่ระหว่างการดำเนินการมีจำนวนมาก และมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ รวมถึงปริมาณงานด้านป้องกันอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้ ยังพบปัญหาของเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับคดี ประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานไต่สวนในบางพื้นที่ การสนับสนุนงานธุรการแก่พนักงานไต่สวนในการปฏิบัติหน้าที่ การขาดคู่มือในการปฏิบัติงานที่เป็นปัจจุบัน ปัญหาในการรวบรวมพยานหลักฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเอกสารราชการตามระบบงานสารบรรณของหน่วยงานผู้รับตรวจ การประสานที่ดีระหว่างหน่วยงานรับตรวจ หรือหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหา ซึ่งส่งผลต่อความล่าช้าในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

อภินันท์ ศรีศิริ และ ประดิษฐ์ แป้นทอง (2563). ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 7, 64-78.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • อภินันท์ ศรีศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

  • ประดิษฐ์ แป้นทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

You might also like...

บทความวิจัย : การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

เมื่อการประเมิน ITA ถูกประเมินเสียเอง พบว่า เครื่องมือประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐได้ (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย)

บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก