บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน รวมถึงการตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

 

การศึกษาไทยจับไปตรงไหนก็ดูจะเต็มไปด้วยปัญหา และทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบด้านการศึกษาของชาติ เช่น เปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง ในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มักจะมีการกำหนดนโยบายใหม่ เพื่อแก้ปัญหาการศึกษาของชาติ  

 

หลายครั้งมีการยกเลิกโครงการเดิม และจัดทำโครงการใหม่ โดยไม่คำนึงถึงความต่อเนื่องและผลสัมฤทธิ์ของโครงการนโยบายหลายอย่าง ทำเพียงแค่เพื่อให้ได้รับความนิยมในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยขาดการมองผลเสียที่จะตามมาในระยะยาว หลายโครงการทำเพื่อหาผลประโยชน์ในทางทุจริต นำมาสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีอยู่จนทุกวันนี้  

 

บทความนี้ จึงดำเนินการสำรวจปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษาของไทย โดยเน้นถึงความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษาและคุณภาพการเรียนการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์ผลกระทบของการบริหารจัดการที่ไม่ดีที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน การสนับสนุนจากภาครัฐและการพัฒนานโยบายที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา และนำเสนอแนวทางการพัฒนาและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเท่าเทียม

 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

วิยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2559). เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 2-8.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2559
ผู้แต่ง

วิยะ ฤาชัยพาณิชย์

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นเพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

ศึกษาสถานการณ์ธรรมาภิบาล และแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาระบบกลไกเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาคการศึกษา และภาคประชาสังคมใน จ.นครราชสีมา

บทความวิจัย | เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ

การศึกษาไทยประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่ไม่สอดคล้องและการยกเลิกโครงการเก่าโดยไม่มีการประเมินผลที่ชัดเจน การตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและสำนักงานมาตรฐานการศึกษา แม้ตั้งใจจะยกระดับคุณภาพการศึกษา แต่กลับสร้างปัญหาใหม่ ทำให้คุณภาพการศึกษายังคงต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

บทความวิจัย | ประเด็นด้านจริยธรรมจากเทคโนโลยีการเรียนรู้ออนไลน์

การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีออนไลน์มีประโยชน์มากมาย แต่ในอีกด้านก็เกิดปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านจริยธรรมที่เชื่อมโยงการทุจริตทางวิชาการ

You might also like...

องค์กรอิสระกับการสร้างประชาธิปไตยที่ตรวจสอบได้: กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

การศึกษาผลการดำเนินงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่า ทั้งสองหน่วยงานยังมีงบประมาณและบุคลากรที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับปริมาณงาน และอำนาจหน้าที่ที่ยังไม่ครอบคลุม ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | สำนักงาน ป.ป.ช. ตรวจสอบหน่วยงานรัฐ แล้วใครตรวจสอบ สำนักงาน ป.ป.ช.

ถ้าสำนักงาน ป.ป.ช. ไม่โปร่งใส (ปชช) ทำอะไรได้บ้าง ? และหากประชาชนจะตรวจสอบสำนักงาน ป.ป.ช. ต้องทำอย่างไร ? มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ชวนถอดรหัส “วัฒนธรรมองค์การต้านโกง” จาก ฮ่องกง สิงคโปร์และฟินแลนด์

ชวนส่องแนวทางสร้างค่านิยมสุจริตจาก 3 ชาติที่โปร่งใส ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ซึ่งแต่ละประเทศมีวิธีการที่น่าสนใจที่ไทยสามารถนำไปปรับใช้ในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันได้