บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

จากการประเมินจริยธรรมของนักการเมือง พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น 

 

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย (2) การยืนยันตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย (3) ศึกษาจริยธรรมนักการเมืองไทย (4) เปรียบเทียบจริยธรรมนักการเมืองไทย จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือน (5) ศึกษาแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย  และ (6) ประเมินแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย  

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยผสานวิธี คือการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางด้านจริยธรรม การบริหาร การเมือง และการปกครอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ ความแปรปรวน (F-test) และ การเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของ Dunnett T3  

ผลการวิจัย พบว่า ตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย 28 ข้อ เช่น มีความละอายใจ ไม่ทำความชั่ว สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย (หิริ) มีความเกรงกลัวต่อผลของการกระทำความชั่วและอาญาแผ่นดิน (โอตตัปปะ) มีความรู้เกี่ยวกับความดี คือรู้ว่า อะไรดี อะไรชั่ว เป็นต้น ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเพื่อยืนยันตัวแบบจริยธรรมนักการเมืองไทย พบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (= 4.74)  ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อจริยธรรมนักการเมืองไทย พบว่า นักการเมืองไทยมีจริยธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มีน้อย (= 2.35) การเปรียบเทียบจริยธรรมนักการเมืองไทยจำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และ รายได้ต่อเดือนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีความคิดเห็นต่อจริยธรรม นักการเมืองไทยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมือง ได้แก่ (1) มาตรการพัฒนาจริยธรรม เช่น  รัฐต้องกำหนดให้การพัฒนาจริยธรรม เป็นนโยบายเร่งด่วนและสำคัญของชาติ มีหน่วยงานรับผิดชอบในการพัฒนาจริยธรรมนักการเมือง จัดทำโครงการพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองทุกระดับ (2) มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม เช่น มีประวัติดีงามไม่เสื่อมเสียทางจริยธรรม ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอรัปชั่น และ (3) มาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีที่ทำความผิด เช่น ตัดสิทธิเลือกตั้งนักการเมืองที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งตลอดชีวิต ตัดสิทธิเลือกตั้งคู่สมรสและบุตร  5 ปี ตัดสิทธิเลือกตั้งนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชันตลอดชีวิต เป็นต้น สำหรับการประเมินแนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย  พบว่า  อยู่ในระดับมากที่สุด คือ มาตรฐานการใช้ประโยชน์ได้ (= 4.66) และ มาตรฐานความเหมาะสม (= 4.65)  และ มาตรฐานความเป็นไปได้ (= 4.46) อยู่ในระดับมาก 

เอกสารอ้างอิง

รูปแบบ APA

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2558). แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย. สักทอง: วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 21(2), 5366.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง

ศรัณย์ วงศ์คำจันทร์ 

วารสารที่ตีพิมพ์

หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

บทความวิจัย : การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา