KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I บุกค้นจริง !! “นาฬิกาหรูไม่มีที่มา” บนข้อมือของประธานาธิบดีเปรู

การบุกค้นบ้านประธานาธิบดีเปรู เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

คืนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศเปรูรวมกว่า 40 คนได้บุกค้นบ้านพักของประธานาธิบดีดินา โบร์ลูอาเต หลังถูกสังคมตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนาฬิกาหรูยี่ห้อ Rolex หลายเรือนที่ได้ใส่ออกงานสาธารณะ กรมบัญชีกลางของประเทศเปรูจึงได้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินย้อนหลังซึ่งพบว่าไม่มีการแจ้งข้อมูลทรัพย์สินเกี่ยวกับนาฬิกาดังกล่าวเอาไว้ อัยการประเทศเปรูจึงได้อนุมัติให้มีการบุกค้นบ้านของประธานาธิบดี และพบนาฬิกาหรูดังกล่าวหลายสิบเรือน

โดยก่อนหน้านี้ โบร์ลูอาเต เคยออกมาชี้แจงเกี่ยวกับนาฬิกาหลายเรือนที่ตนเองครอบครอง ซึ่งให้เหตุผลว่า นาฬิกาทั้งหมดมาจากน้ำพักน้ำแรงที่ได้ทำงานมาตั้งแต่อายุ 18 ปี แต่มันก็ไม่ใช่ข้อชี้แจงที่ชัดเจน และไม่มีหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรม ทำให้แม้เธอจะพยายามยื่นเรื่องกับอัยการเพื่อขอต่อเวลาในการชี้แจงเกี่ยวกับทรัพย์สินหลังจากเคยขอเวลาไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่อัยการได้ปฏิเสธคำร้อง และนำมาสู่การบุกค้นดังกล่าว

หลังเหตุการณ์ครั้งนี้นายกรัฐมนตรีกุสตาโว อาเดรียนเซน ได้ออกโพสต์บนแพลตฟอร์ม X ว่า การกระทำของกระบวนการยุติธรรมเปรูในครั้งนี้จะส่งผลเสียต่อการลงทุนของประเทศ ส่วนประธานาธิบดีโบร์ลูอาแม้ก่อนหน้านี้ ในช่วงที่สังคมออกมาวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับนาฬิกาหรูเธอได้เคยออกมาประกาศว่า “ฉันเข้ามาทำงานในรัฐบาลด้วย “มือสะอาด” และฉันจะออกไปด้วย “มือสะอาดเช่นกัน” แต่ปัจจุบันยังไม่มีการออกมาแสดงความเห็นใด ๆ

แม้ขบวนการตรวจสอบในครั้งนี้เพิ่งจะเริ่มต้น และเรายังต้องติดตามข้อเท็จจริงกันต่อไป แต่เหตุการณ์นี้ ก็ทำให้เราได้เห็นถึงความ “เอาจริง” ของกระบวนการยุติธรรมประเทศเปรู ในการตรวจสอบทรัพย์สินที่อาจเข้าข่ายการทุจริต ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีต่อการต่อต้านทุจริตให้กับหลาย ๆ ประเทศ และเราเชื่อว่าหากประเทศไทยมีความจริงจังตรวจสอบโดยไม่สนใจเรื่องของตำแหน่ง อำนาจหรืออิทธิพล ก็จะทำให้การคอร์รัปชันถูกเปิดโปงมากขึ้นซึ่งจะนำมาสู่สังคมที่โปร่งใสในที่สุด

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I EU Network Against Corruption เห็นพ้อง ! “การยื่นบัญชีทรัพย์สินควรเป็น ‘หน้าที่’ ของเจ้าหน้าที่รัฐ”

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2024 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้เผยแพร่บทความการประชุมหลังจากการเป็นเจ้าภาพในการจัด “การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการยื่นบัญชีทรัพย์สิน (Workshop on Asset Declaration Systems)” ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I บุกค้นจริง !! “นาฬิกาหรูไม่มีที่มา” บนข้อมือของประธานาธิบดีเปรู

คืนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา สำนักงานอัยการและเจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศเปรูรวมกว่า 40 คนได้บุกค้นบ้านพักของประธานาธิบดีดินา โบร์ลูอาเต หลังถูกสังคมตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับนาฬิกาหรูยี่ห้อ Rolex หลายเรือนที่ได้ใส่ออกงานสาธารณะ …

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I คริปโทเคอร์เรนซี ช่องทางเสี่ยงคอร์รัปชัน

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ACRC (Anti-corruption & Civil Rights Commission) หรือคณะกรรมการต่อต้านการทุจริต และสิทธิพลเมืองเกาหลีใต้ได้แถลงการณ์ถึงความตั้งใจที่จะตรวจสอบทรัพย์สินดิจิทัลรูปแบบ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) …

You might also like...

บทความวิจัย : กลไกป้องปรามการทุจริตของภาคประชาชนผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ

การดำเนินกลไกป้องปรามการทุจริตผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?