ประมวลองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการลดคอร์รัปชัน

นำเนื้อหาจากงานวิจัย 40 ชิ้น มาประมวลเป็นองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการสร้างธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริต ตามแนวคิด “สมการคอร์รัปชัน” เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยในอนาคต

คณะผู้วิจัย ได้คัดเลือกงานวิจัย 40 ชิ้นที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2536 ถึงปี พ.ศ. 2558 จากฐานข้อมูลงานวิจัยออนไลน์ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อนำมาประมวลสาระ และจัดหมวดหมู่ตามแนวคิดสมการคอร์รัปชัน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมไทยในอนาคต

โดยคณะผู้วิจัย เลือกใช้กรอบแนวคิด “สมการคอร์รัปชัน” ของศาสตราจารย์ Robert Klitgaard ซึ่งนิยามว่า Corruption = Monopoly (การผูกขาดอํานาจการเมืองและธุรกิจ) + Discretion (การใช้อํานาจแห่งดุลยพินิจ) – Accountability (การตรวจสอบ) ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดที่กว้างพอ ที่จะใช้จัดหมวดงานวิจัยได้ง่าย เพื่อจัดกลุ่มตามกรอบแนวคิดที่นำเสนอใหม่ และกำหนดองค์ความรู้และข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วน (Gap Analysis) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโจทย์วิจัยด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในสังคมไทยในอนาคต

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการประมวลองค์ความรู้จากงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่จัดทําขึ้นในช่วง 21 ปีที่ผ่านมา แยกตามประเด็นได้ 3 ประเด็น ได้แก่ หนึ่ง การผูกขาดอํานาจการเมืองและธุรกิจ สอง การผูกขาดทางเศรษฐกิจ และ สาม การตรวจสอบรัฐ
  • ผลจากการทบทวนงานวิจัยในประเด็นการใช้อำนาจดุลยพินิจ พบว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ประเด็น ได้แก่ การกํากับดูแลของรัฐ (regulator) การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดสรรทรัพยากรของรัฐ และระบบยุติธรรม นอกจากนี้ งานวิจัยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มีจํานวน 6 เรื่อง ที่ชี้ให้เห็นว่าการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ยังคงมีช่องโหว่ให้เกิดการทุจริต
    ได้เเก่ การให้สินบนกับเจ้าหน้าที่พัสดุ การสมยอมราคาหรือฮั้วราคา รวมถึงการล็อกสเปก และการใช้บริษัทอื่นบังหน้า
  • ผลจากการทบทวนงานวิจัยในประเด็นการตรวจสอบรัฐ พบว่ามีกลไกในการตรวจสอบและถ่วงดุลอํานาจของภาครัฐอยู่ 4 ประการ ได้เเก่ (1) ระบบการตรวจสอบภายใน (2) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ (3) รัฐสภา และ (4) สื่อมวลชนและภาคประชาชน
  • ผลจากการศึกษา มีข้อเสนอแนะสําหรับโจทย์วิจัยในประเด็นเรื่องการผูกขาด เนื่องจากยังมีการศึกษาในประเด็นนี้น้อยอยู่ โดยเสนอประเด็นเรื่องการผูกขาดสิทธินําเข้าสินค้าเกษตรภายใต้ระบบโควต้า และการผูกขาดจากการปฏิเสธ และประเด็นการจํากัดใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจโดยไม่มีเหตุผลอันควร โดยเสนอให้มีการศึกษาว่าประเทศไทย มีใบอนุญาตสําหรับการประกอบธุรกิจใดบ้าง และกระบวนการในการอนุญาตนั้น มีความชัดเจนโปร่งใส หรือมีอุปสรรคปัญหาอย่างไร รวมถึงประเด็นการผูกขาดอํานาจการเมือง ระบบพวกพ้องและการแสวงหาผลประโยชน์  และการผูกขาดทางเศรษฐกิจ กรณีรัฐวิสาหกิจและการให้สัมปทานเอกชน
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2558). ประมวลองค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างธรรมาภิบาลและการลดคอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

บทความวิจัย : การประเมิน “เครื่องมือประเมิน” พิชิตความโกงของ ป.ป.ช. กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย

เมื่อการประเมิน ITA ถูกประเมินเสียเอง พบว่า เครื่องมือประเมินคุณธรรมความโปร่งใสของ ป.ป.ช. ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่มุ่งแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในหน่วยงานภาครัฐได้ (กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย)

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

การสำรวจข้อมูลธรรมภิบาลในประเทศไทย : Good Governance Mapping

สํารวจข้อมูลธรรมาภิบาลขององค์กรภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนในไทย และวิเคราะห์ปัจจัยความสําเร็จในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล รวมถึงวิเคราะห์รางวัลธรรมาภิบาลขององค์กร

ความท้าทายในประเด็นธรรมาภิบาลกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ฯ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลขององค์การภาครัฐ สภาพปัญหาและอุปสรรค รวมถึงแนวทางพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์การภาครัฐ

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้