โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

ในอดีตนโยบายเป็นเรื่องจาก “บนลงล่าง” หรือเป็นเรื่องของผู้บริหาร ซึ่งเป็นนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบาย แต่ในปจัจุบัน ประชาชนเริ่มมีโอกาสในการนำเสนอและขับเคลื่อนประเด็นนโยบายมากขึ้น เพื่อให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ดีขึ้น

งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน หลังจากนั้น จึงนำมาประเมินผลกระทบของนโยบายสาธารณะอย่างเป็นระบบโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลักฐาน (Evidence – based) ของชุดโครงการวิจัยประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่านโยบายสาธารณะของไทย ไม่ได้ออกแบบและปรับปรุง จากข้อมูลและงานวิจัยเชิงประจักษ์ แต่สร้างขึ้นจากการดูตัวอย่าง หรืออาศัยสมมติฐานจากประสบการณ์ต่างประเทศ ประสบการณ์ของผู้วางนโยบาย และจากทฤษฎีวิชาการ ดังนั้น การวิจัยเพื่อทดสอบสมติฐานของนโยบาย  และการประเมินผลนโยบาย เมื่อนโยบายได้ดำเนินการไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง คือ 4-5 ปี จึงเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็น
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่านโยบายสาธารณะที่ออกแบบโดยส่วนกลาง มักเป็นนโยบายเหมือนเสื้อฟรีไซส์ หรือ One Size Fits All กล่าวคือ ใช้บังคับกับองค์กรที่มีขนาดและศักยภาพต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และระดับการจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน รัฐจึงควรสร้างตัวชี้วัด เพื่อแยกท้องถิ่นเป็นกลุ่ม ๆ ตามศักยภาพ มีการให้งบประมาณที่อิสระในการบริหารตามศักยภาพ และมีระบบ Coaching สำหรับกลุ่มที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าผู้วางนโยบายระดับสูง มักมุ่งเน้นการใช้เครื่องมือทางกฎหมาย และการกำหนดกฎระเบียบในการออกเเบบนโยบายสาธารณะ แต่ขาดการใช้เครื่องมือทางนโยบายอื่น ๆ เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ และการประเมินทางสังคม แต่การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นทำให้เกิดเครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางสังคมมากขึ้น 
  • ผลจากการศึกษา ชี้ว่าการประเมินเครื่องมือทางนโยบายควรมีการประเมินหลายเครื่องมือพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สะท้อนถึงประสิทธิภาพของแต่ละเครื่องมือ และผลจากการใช้เครื่องมือร่วมกัน ดังเช่นนโยบายควบคุมการบริโภคยาสูบ 
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, ศิวาพร ฟองทอง,ปวีณา คำพุกกะ, ศุภศิษฐ์ สุวรรณสิน, ปิยะพงษ์ แสงแก้ว, อริยา เผ่าเครื่อง, จักรพันธ์ สุขสวัสดิ์ และอรรถพันธ์ สารวงศ์.  (2560). ประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2561
ผู้แต่ง
  • มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด
  • ศิวาพร ฟองทอง
  • ปวีณา คำพุกกะ
  • ศุภศิษฐ์ สุวรรณสิน
  • ปิยะพงษ์ แสงแก้ว
  • อริยา เผ่าเครื่อง
  • จักรพันธ์ สุขสวัสดิ์
  • อรรถพันธ์ สารวงศ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาพรมแดนและช่องว่างความรู้เรื่องคอร์รัปชันและธรรมาภิบาล เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2566-2570

ศึกษาพัฒนาการของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและธรรมาภิบาลในประเทศไทย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยในประเด็นคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลในอนาคต

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

โครงการวิจัยการศึกษาแนวทางความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

นำเสนอแนวคิดและกิจกรรมที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในการแก้ไขปัญหาการทุจริต และเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันผ่านกระบวนการประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลของนโยบายสาธารณะไทย การวิจัยเพื่อเสริมสร้างนักนโยบายสาธารณะที่ดี

เพื่อทำการวิเคราะห์ผลทางนโยบายสาธารณะในด้านต่าง ๆ จากมุมมองของประชาชน โดยใช้หลักธรรมาภิบาลด้านประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วม และการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน

You might also like...

บทความวิจัย : การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคมกับปัญหาการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายประชาชนในจังหวัดภูเก็ตเพื่อให้สามารถติดตามปกป้อง ตรวจสอบการทุจริตได้ ต้องอาศัยการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ความรู้สึกร่วมในการต่อต้านการทุจริต

บทความวิจัย : การพัฒนารูปแบบป้องกันการทุจริตเพื่อสร้างอนาคตร่วมกันของประชาชน ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย

การพัฒนารูปแบบการป้องกันการทุจริตอย่างยั่งยืน ควรการสร้างค่านิยมด้านจริยธรรมวิชาชีพร่วมกันของพนักงาน โดยการจัดสวัสดิการอย่างเท่าเทียม และยึดหลักความโปร่งใสและความสามารถของพนักงาน เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงมีกระบวนการที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามหลักธรรมาภิบาล

บทความวิจัย : กลไกป้องปรามการทุจริตของภาคประชาชนผ่านการสอดส่องและเสนอแนะ

การดำเนินกลไกป้องปรามการทุจริตผ่านคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคธุรกิจเอกชน และสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ไม่ใช่ผู้บริหารในการตรวจสอบและติดตามการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความโปร่งใสและความคุ้มค่าของการดำเนินโครงการ