การตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของข้าราชการคือกุญแจสำคัญของการแก้ปัญหาสินบน
อย่างที่เรารู้กันว่า “สินบน” เป็นรูปแบบหนึ่งของการคอร์รัปชันที่รุนแรงซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำลายระบบบริหาร และสร้างผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงฟิจิ ประเทศบนเกาะในภูมิภาคโอเชียเนีย จึงทำให้ประธานาธิบดีของฟิจิประกาศแคมเพน “I don’t accept bribes” หรือแปลเป็นไทยว่า “ฉันไม่รับสินบน” เพื่อลดการรับสินบนในระบบราชการ
แคมเพนนี้เปิดตัวขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ซึ่งตรงกับวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล Jioji Konrote ประธานาธิบดีฟิจิจึงได้ใช้โอกาสนี้เป็นการเปิดตัวแคมเพนดังกล่าว โดยดำเนินการผ่านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันอิสระประเทศฟิจิ (Fiji Independent Commission Against Corruption : FICAC) ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติเพื่อต่อต้านการทุจริตในภูมิภาคแปซิฟิก (UN Pacific Regional Anti-Corruption : UN-PRAC) ซึ่งประธานาธิบดียังได้กล่าวว่า “การคอร์รัปชันโดยเฉพาะการติดสินบน เป็นภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายที่รุนแรงกับเศรษฐกิจ”
แคมเพนได้จัดฝึกอบรมบุคลากรในหน่วยงานราชการและหน่วยงานด้านกฎหมาย โดยหากผ่านการฝึกอบรมจะได้รับตรา “I don’t accept bribes” เพื่อสวมใส่ให้เห็นว่าได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรต่อต้านการทุจริตแล้ว และในงานเปิดตัว Rashmi Aslam รองประธานกรรมการ FICAC ยังได้ออกมากล่าวกับข้าราชการในฟิจิว่า “การตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของพวกคุณในการรณรงค์ต่อต้านการรับสินบนเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาสินบนให้กับประเทศได้”
ปัจจุบันแคมเพน “I don’t accept bribes” ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2564 และครอบคลุมหน่วยงานรัฐ 82 แห่งในประเทศฟิจิ
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | CPI ไม่ใช่ทุกคำตอบของปัญหาคอร์รัปชัน
หากเราต้องการเห็นภาพรวมการทุจริตในประเทศไทยจริง ๆ การพูดคุยหรือเก็บข้อมูลจากประชาชน อาจจะเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ซึ่งนี่ก็เป็นวิธีการที่งานวิจัย เรื่อง “คอร์รัปชันในระบบราชการไทย การสำรวจทัศนคติ ประสบการณ์ของหัวหน้าครัวเรือน” ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพการคอร์รัปชันในไทย มุมมองและประสบการณ์ของประชาชน
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ
เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”
KRAC Hot News I ถนนไม่ปลอดภัย เพราะปัญหาคอร์รัปชันที่สั่งสม
“กินกันเป็นระบบ” แต่บอกว่าเป็นการคอร์รัปชันส่วนบุคคล ทั้งที่งานศึกษาหลายชิ้นชี้ ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนนมาจากการคอร์รัปชันที่สั่งสม อย่าปล่อยให้เรื่องราวสะเทือนใจจากเหตุการณ์รถบัสทัศนศึกษาเป็นเพียงอุบัติเหตุหนึ่งที่ผ่านเลยไป แต่เราควรมาถอดบทเรียนป้องกันไม่ให้โศกนาฏกรรมเช่นนี้เกิดซ้ำ