มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน

ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน และแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ

งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน ศึกษาผลสะท้อนจากกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันต่อประชาชนผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน และจัดทำแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพของประชาชน

โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน และหน่วยงานหลักทีเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน ได้แก่ สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • จากการศึกษา พบว่ามาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันในระดับสากลขององค์การสหประชาชาติ มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อกลุ่มบุคคลที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ได้แก่ (1) อนุสัญญาสหประชาชาติเพือต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 (United Nation Convention Against Transnational Organize Crime 2000) (2) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (Un Convention Against Corruption) (3) สนธิสัญญา และกระบวนการพิเศษที่สนับสนุนการพัฒนากระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน เช่น กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และ (4) ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิและความรับผิดชอบของปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรของสังคมในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Declaration on the Right and Responsibility of individuals Groups and Organs of Society to Promote and Protect Universally Recognized Human Rights and Fundamental Freedoms) ที่มีการกําหนดให้มีการสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนในบริบทงานของผู้ต่อต้านการทุจริต
  • จากการศึกษา พบว่ามาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันในประเทศไทย นอกจากได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยมาตรา 62 ได้มีการพัฒนากฎหมายคุ้มครองพยานตามหลักเกณฑ์ในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 โดยดำเนินการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ซึ่งมีหลายหน่วยงานได้นําไปปฏิบัติใช้ภายในหน่วยงาน อยางไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันโดยตรง แต่จะกล่าวอ้างเอาหลักการคุ้มครองพยานมาใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 โดยมีสํานักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานหลักในการดูแล
  • จากการศึกษา พบว่าประชาชนที่ได้รับการคุ้มครองจากระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองช่วยเหลือพยาน พ.ศ. 2554 เผชิญกับปัญหาและอุปสรรคซึ่งขัดขวางต่อผลสัมฤทธิ์ในการคุ้มครองพยานตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ สรุปได้ ดังนี้ (1) ปัญหาในขั้นตอนการยื่นคําร้อง การพิจารณา และการยกเลิกคําร้องผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน (2) ปัญหาในขั้นตอนการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน เช่น เจ้าหน้าที่ซึ่งทําหน้าที่ในการคุ้มครองผู้เเจ้งเบาะเเส มีความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น และ (3) ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการพิจารณา 
  • ผลจากการศึกษา ได้จัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สรุปได้ ดังนี้ (1) หน่วยงานผู้ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน ควรเป็นหน่วยงานเดียวที่ทํางานครบกระบวนการ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล (2) หน่วยงานผู้ให้ความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน ควรจัดทําระบบฐานข้อมูลเจ้าหน้าที่ที่จะเป็นผู้คุ้มครองพยาน เพื่อความปลอดภัยของพยาน (3) ควรปรับปรุงกระบวนการดําเนินคดีอาญาบางประการ เช่น ให้พยานชี้ตัวผู้ต้องหาโดยใช้วิธีที่ไม่ต้องเผชิญหน้า (4) ต้องส่งเสริมกฎหมายและงานของสํานักงานคุ้มครองพยานให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มงบประมาณและเพิ่มบุคคลากรที่มีความชำนาญในประเด็นดังกล่าว
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

พิศอําไพ สมความคิด และรัชนี แมนเมธ. (2557). มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน. สถาบันพระปกเกล้า.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2557
ผู้แต่ง
  • พิศอําไพ สมความคิด
  • รัชนี แมนเมธ
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

ราชการไทยไร้คอร์รัปชัน : การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต

ศึกษาปัญหาการแจ้งเบาะแสการทุจริตในราชการไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่จากหน่วยงานรัฐส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อสำรวจความเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐและพฤติกรรมการแจ้งเบาะแสการทุจริต

มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชัน

ศึกษากลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันและแนวทางเสริมสร้างกลไกการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคอร์รัปชันที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และสิทธิเสรีภาพ

การเสริมสร้างประสิทธิผลของระบบการให้เบาะแสในประเทศไทยและการส่งเสริมความร่วมมือในระดับพื้นที่ภาคใต้เพื่อป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันในภาครัฐ

พัฒนาและปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสให้สอดรับกับมาตรฐานสากลและสามารถรองรับ “ต้นทุน” ให้กับผู้แจ้งเบาะแสได้

การพัฒนาความร่วมมือและยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย: ศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ศึกษาความร่วมมือในการป้องกันการทุจริตระหว่างคณะกรรมการ ป.ป.ช. กับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และศึกษาประสบการณ์ของญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เรื่องความร่วมมือและระบบการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ให้เบาะแส (whistleblower) เพื่อเสนอแนะแนวทางป้องกันการทุจริตผ่านทางประสบการณ์ของประเทศกรณีศึกษา

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”