มาแล้ว !! โอกาสพัฒนาความรู้สู่การต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพ

เชื่อว่าเราทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าคอร์รัปชันเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบเชิงลบให้กับสังคม อย่างไรก็ตามการจะต่อสู้กับคอร์รัปชันจำเป็นต้องมีพื้นฐานองค์ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและกลไกที่สลับซับซ้อนของการคอร์รัปชันเพื่อต่อต้านให้อยู่หมัด
 

KRAC จึงอยากชวนทุกคนมาเรียนรู้กับ หลักสูตรการส่งเสริมธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชันร่วมสมัย (Contemporary Good Governance and Anti-Corruption) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นภายใต้เป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Learn) ของโครงการศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration : KRAC) เพื่อที่จะพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันที่ผสานกับองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อสอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ชุมชน หรือภาคส่วนต่าง ๆ โดยได้ดำเนินการร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) และ HAND Social Enterprise

หลักสูตรนี้ ครอบคลุมการเรียนรู้ทั้งแนวคิด ทฤษฎี เเละเเนวทางปฏิบัติ ผ่านตัวอย่างกรณีศึกษาใหม่ ๆ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังแนะนำการใช้ข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันอีกด้วย ซึ่งในหลักสูตรนี้ บรรยายโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาลจากหลากหลายภาคส่วนทั้งภาควิชาการ เเละภาคเอกชน
 
โดยมีหัวข้อการเรียนรู้ทั้งหมด 6 หัวข้อ สอนโดย 6 ผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้
 
1. คอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในบริบทสากล 
2. สถานการณ์และการคาดการณ์สถานการณ์คอร์รัปชันประเทศไทย 
3. เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม วัฒนธรรมองค์กร และการส่งเสริมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน 
4. การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อการต่อต้านการทุจริตและยกระดับธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและเอกชน 
5. กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านคอร์รัปชันตามกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล 
6. แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับเอกชน 
วิทยากร: นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน

บทที่ 1 : แนะนำรายวิชา

การจะต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพ เราต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชันเพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ที่เข้มแข็ง ซึ่งหลักสูตรจะช่วยให้ความรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชันที่ประยุกต์เข้ากับหลากหลายศาสตร์ ทั้งในด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ด้านกฎหมาย รวมทั้งสร้างความเข้าใจในโครงสร้างของคอร์รัปชันทั้งในระดับสากลและระดับประเทศ

โดยบทเรียนแรก จะเป็นการแนะนำให้ผู้เรียนได้รู้จักกับหลักสูตรทั้ง 6 หัวข้อรายวิชาที่จะได้เรียน รู้จักถึงที่มาที่ไปของหลักสูตร เข้าใจรายละเอียดของหลักสูตร รวมทั้งผลลัพธ์ที่จะได้จากการเรียน

  • บรรยายโดย ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ KRAC
  • บทเรียนใช้เวลาทั้งหมด 5 นาที
หลักสูตรจะมีการสอนไปถึงแนวทางปฏิบัติและมีตัวอย่างกรณีศึกษาให้เรียนรู้ สอดแทรกไปกับองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับองค์กรที่ทำงานด้านการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบัน อีกทั้งช่วยแนะนำทักษะการใช้เครื่องมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน ซึ่งจะมีการบรรยายโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาลจากหลายภาคส่วน
 
 

บทที่ 2 : หัวข้อ “คอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาลในบริบทสากล”
.
ปัจจุบันคอร์รัปชันเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบรุนแรงทั่วโลก องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) พบว่า 2 ใน 3 ของ 180 ประเทศมีดัชนีการรับรู้ทุจริตหรือค่าคะแนนความโปร่งใส (CPI) ไม่ถึง 50 จาก 100 คะแนนเต็ม ปัญหาคอร์รัปชันจึงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องเผชิญและต้องร่วมมือเพื่อแก้ไข

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้พื้นฐานของการคอร์รัปชัน และการป้องกันการคอร์รัปชันในองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลในบริบทของสากล โดยจะเริ่มต้นจากความหมายและประเภทของการคอร์รัปชัน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล รวมถึงนวัตกรรมและเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการป้องกันการคอร์รัปชันได้

  • บรรยายโดย ผศ. ดร.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้อำนวยการศูนย์ KRAC
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

บทที่ 3 : หัวข้อ “สถานการณ์และการคาดการณ์สถานการณ์คอร์รัปชันประเทศไทย”

อย่างที่เราทราบกันดีว่าประเทศไทยมีการคอร์รัปชันที่รุนแรง และดูเหมือนจะยังไม่ดีขึ้น ล่าสุดดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทยปี 2023 เราได้ 35 คะแนน ลดลงจากปีก่อนหน้า 1 คะแนน ดังนั้น การร่วมแก้ไขปัญหา จึงต้องเข้าใจโครงสร้างและเข้าใจสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทย

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับสถานการณ์คอร์รัปชันในประเทศไทยและแนวโน้มของการคอร์รัปชันในปัจจุบัน แนวทางการป้องกันการคอร์รัปชันรวมถึงการคาดการณ์สถานการณ์คอร์รัปชันในอนาคต

  • บรรยายโดย ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

บทที่ 4 : หัวข้อ “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม วัฒนธรรมองค์กร และการส่งเสริมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลและการต่อต้านคอร์รัปชัน”

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพื่อช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมมนุษย์มากขึ้นว่า พวกเขาตัดสินใจอย่างไรในการทุจริตหรือทำสิ่งต่าง ๆ

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาล ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางและกระบวนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร รวมทั้งสอนเรื่องการส่งเสริมแนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชัน ด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม และวัฒนธรรมองค์กร

  • บรรยายโดย ผศ. ดร.ธานี ชัยวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมและการทดลองแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

บทที่ 5 : หัวข้อ “การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อการต่อต้านการทุจริตและยกระดับธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและเอกชน” 

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) คือการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาความรู้ โดยใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์ สถิติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และ Machine Learning เพื่อดึงข้อมูลเชิงลึก (insights) ซึ่งกระบวนการนี้จะนำไปสู่การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบและแก้ปัญหาคอร์รัปชัน รวมทั้งสร้างแนวทางเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กับสังคม

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันและยกระดับธรรมาภิบาลในองค์กรภาครัฐและเอกชน พร้อมยกกรณีตัวอย่างในการศึกษา รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับความท้าทายและทิศทางในอนาคตในการยกระดับธรรมาภิบาล

  • บรรยายโดย ผศ. ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล อาจารย์พิเศษด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

บทที่ 6 : หัวข้อ “กฎหมายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการต่อต้านคอร์รัปชันตามกฎหมายไทยและมาตรฐานสากล” 

กฎหมายเป็นรากฐานสำคัญในการต่อต้านคอร์รัปชันในการทำหน้าที่ทั้งป้องกัน ปราบปราม การมีกฎหมายที่ดีและเข้มแข็งจะช่วยสร้างระบบที่มีความโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ เพราะกฎหมายสามารถกำหนดบทลงโทษ กำหนดมาตรการป้องกันการคอร์รัปชัน รวมถึงมาตรการการเปิดข้อมูลได้

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางการใช้กฎหมายเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยจะพาทุกคนไปรู้จักกับมาตรการ และกลไกในระดับสากลในการต่อต้านการทุจริต มาตรการและกลไกภายใต้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พร้อมวิธีการดำเนินคดีทุจริตในศาล

  • บรรยายโดย ผศ. ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

บทที่ 7 : หัวข้อ “แนวทางการต่อต้านคอร์รัปชันและส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับเอกชน” 

การทุจริตไม่เพียงเกิดขึ้นในภาครัฐเท่านั้น ภาคเอกชนก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน เช่น การเลี่ยงภาษี การปลอมแปลงบัญชี การติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ หรือบางครั้งก็มีการร่วมมือกันโกงกินกับเจ้าหน้าที่อย่างการฮั้วประมูล การป้องกันการทุจริตในภาคเอกชนและส่งเสริมธรรมาภิบาลให้มีการจัดการที่ดีและมีความโปร่งใสจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

โดยบทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เรื่องของแนวโน้มและสถานการณ์ปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองภาคเอกชน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาคเอกชนไทยของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC) กับการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งโอกาสและทิศทางในอนาคต ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้ความเข้าใจในสถานการณ์คอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย และแนวปฏิบัติที่จะส่งเสริมการต่อต้านคอร์รัปชันในภาคธุรกิจได้

  • บรรยายโดย คุณพรหเมศร์ เบ็ญจรงค์กิจ ผู้อำนวยการแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
  • บทเรียนใช้เวลา 90 นาที

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

✅นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป: ที่สนใจศึกษาเรื่องคอร์รัปชันและหลักธรรมาภิบาล และต้องการเรียนรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน (Corruption Literacy) และการส่งเสริมธรรมาภิบาล

✅ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธรรมาภิบาลในองค์กรหรือหน่วยงาน: ที่ต้องการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงกับบริบทของหน่วยงานและองค์กร

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับคือ

✅เพิ่มทักษะและองค์ความรู้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน และการส่งเสริมธรรมาภิบาล

✅รู้เท่าทันสถานการณ์คอร์รัปชันและธรรมาภิบาลที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและสังคมโลก

✅สร้างความตื่นตัวและตระหนักต่อปัญหาคอร์รัปชันในปัจจุบัน ที่จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการต่อต้านคอร์รัปชันตามหลักธรรมาภิบาลอย่างยั่งยืนในอนาคต

📌📌📌 สมัครเรียนหลักสูตรคลิก (ลิงก์ใดลิงก์หนึ่ง) 👉 https://lifelong.chula.ac.th/ หรือ https://to.degree.plus/krac-corruption

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?

มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | เกาหลีใต้เอาชนะการทุจริตจากผู้มีอิทธิพลภาคธุรกิจได้อย่างไร ?

การทำธุรกิจนั้นมีการแข่งขันสูง หลายธุรกิจมีแรงกดดันที่ต้องเอาชนะคู่แข่งในตลาด ต้องพยายามลดต้นทุนให้น้อยลงและสร้างรายได้ให้มากขึ้น จนหลายบริษัทเลือกที่จะใช้ “ทางลัด” หรือคอร์รัปชัน เพื่อให้เกิดข้อได้เปรียบทางต้นทุน

You might also like...

บทความวิจัย : มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ

แนวทางการดำเนินคดีสำหรับผู้ทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนากฎหมายการทุจริตการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการ

บทความวิจัย : ทางออกการป้องกันและการปราบปรามทุจริตในสังคมไทย

แนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคประชาชนในการติดตามและตรวจสอบการทุจริตในภาครัฐ

บทความวิจัย : แนวทางพัฒนาจริยธรรมนักการเมืองไทย

การประเมินจริยธรรมของนักการเมืองโดยภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น จึงควรมีมาตรการพัฒนาจริยธรรม มาตรการกำหนดคุณสมบัติด้านจริยธรรม และมาตรการกำหนดบทลงโทษในกรณีทำความผิด เพื่อยกระดับจริยธรรมในนักการเมืองให้สูงขึ้น