จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้
สังคมไทยปัจจุบันเผชิญกับสังคมที่คนเสื่อมจากคุณธรรมและช่องโหว่กับความหละหลวมในการบริหารงบประมาณการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลโดยตรงและโดยอ้อมต่อการทุจริตในระดับชุมชน เพราะผู้เกี่ยวข้องทุกระดับจะเกิดกิเลส หรือความอยากที่ไม่ชอบธรรม และฉกฉวยผลประโยชน์ ซึ่งลักษณะหรือกระบวนการทุจริตเหล่านี้เกิดขึ้นได้แทบทุกครั้งที่รัฐบาลมีโครงการและงบพัฒนาลงมาสู่ท้องถิ่น/ชุมชนชนบทหรือชุมชนเมือง
จากสาเหตุดังกล่าว จึงนำมาสู่วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ คือ
- เพื่อเสนอผลวิจัยเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชากรเป้าหมายในการป้องกัน/ต่อต้าน และการแก้ไขปราบปรามการทุจริตภาครัฐระดับชุมชน
- เพื่อให้ทาง สำนักงาน ป.ป.ช. หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป สามารถนำยุทธศาสตร์ที่เสนอไปปรับและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์และสภาพความเหมาะสมสำหรับพื้นที่และหน่วยงานนั้น ๆ เพื่อการปรับปรุงเผยแพร่ให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกภูมิภาคทั้งประเทศต่อไป
ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ด้าน คือ การใช้ประโยชน์จากโอกาส โดยอาศัยจุดแข็ง การลบล้างจุดอ่อนโดยอาศัยโอกาสที่เกิดขึ้น การหลีกเลี่ยงอุปสรรคโดยอาศัยจุดแข็ง และการลดจุดอ่อน และหลีกเลี่ยงอุปสรรคจากโครงการจัดกิจกรรมและโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน สามารถสรุปเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ 4 ส่วนเพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้
สรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอของงานวิจัย
- จากการศึกษา พบว่า ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชากรเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชน ข้าราชการ นักการเมือง พ่อค้า/นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป และยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐระดับชุมชน สามารถทำได้โดยกรอบแนวคิด 3 ด้าน คือ ด้านหลักธรรมทางพุทธศาสนา เน้นศีล ๕ และหิริ-โอตตัปปะ หลักการทรงงานของในหลวง เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักสังคม/ชุมชนเข้มแข็ง เน้นการมีอุดมการณ์ร่วมกันในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมอย่างโปร่งใส และตรวจสอบได้
- จากการศึกษา พบว่า ส่วนแผนงานและโครงการประกอบด้วยสองยุทธศาสตร์หลัก คือ ยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย แผนงานและโครงการละลายพฤติกรรมและการ สร้างบุคลากรตัวแทนเครือข่ายชุมชน เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกการเป็นคนดี มีจิตอาสา ร่วมช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกัน/ต่อต้านการทุจริต และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐระดับชุมชน ประกอบด้วย แผนงานและโครงการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อการจัดการปัญหาการทุจริต และ สังคมชุมชนเข้มแข็ง
- การประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาของรัฐผ่านสื่อทุกรูปแบบ รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบหรือการปรับปรุงกฎกติกาและกระบวนการตรวจสอบที่ชัดเจนรัดกุม การปรับปรุงระบบบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ การให้ความสำคัญกับการบริหารโครงการที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งรวมทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ/ปัญหามลพิษ เศรษฐกิจในและนอกการเกษตร กองทุนการให้เงินช่วยเหลือต่างๆ ชุมชนพอเพียง และชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น
- เพื่อความสมบูรณ์และขยายผลของยุทธศาสตร์ที่นำเสนอจากโครงการวิจัยเรื่องนี้ไปดำเนินการให้แพร่หลายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ สมควรนำสาระที่ค้นพบไปสร้าง/เพิ่ม/ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน/สถาบันการศึกษาทุกแห่งและทุกระดับ
วันเพ็ญ สุรฤกษ์, กมล งามสมสุข, วราภา คุณาพร, รัลนา มณี, ประเสริฐ นทีดำรงค์, ประไพ อมรศักดิ์ และรัชนี ช่วงรัตน์. (2556). ยุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน. สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
- วันเพ็ญ สุรฤกษ์
- กมล งามสมสุข
- วราภา คุณาพร
- รัลนา มณี
- ประเสริฐ นทีดำรงค์
- ประไพ อมรศักดิ์
- รัชนี ช่วงรัตน์
หัวข้อ
โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตจากนโยบายและโครงการของรัฐ
งานวิจัยนี้ จะพาไปทำความเข้าใจรูปแบบ คุณลักษณะ และวิธีการดำเนินนโยบาย มาตรการ หรือโครงการของรัฐเพื่อหาวิธีการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้น
โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย
ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต
โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ
ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ