ลงมือต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านกระบวนการ 4 ธรรม

กระบวนการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม หรือหากพบเจอการคอร์รัปชันในสังคมก็จะเข้าไปร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในฐานะพลเมืองที่ตื่นรู้ (Active Citizen) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านคอร์รัปชันในระดับฐานราก ที่จะทำให้กลไกการต่อต้านคอร์รัปชันในสังคมเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

ในกระบวนการส่งเสริมบรรทัดฐานของสังคมและบรรทัดฐานส่วนบุคคล ที่จะก่อให้เกิดการลงมือต่อต้านคอร์รัปชันที่เป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติ จะต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม หรือหากพบเจอการคอร์รัปชันในสังคมก็จะเข้าไปร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในฐานะพลเมืองที่ตื่นรู้ (Active Citizen) เพื่อจัดการกับปัญหาการคอร์รัปชัน

โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคำว่า “จริยธรรม” (Ethic) ซึ่งหมายถึง ความแตกต่างและความหลากหลายระหว่างสิ่งที่ถูก และสิ่งที่ผิดของความตั้งใจ การตัดสินใจและการกระทำ และ “ศีลธรรม” (Morality) ซึ่งหมายถึง ธรรมชาติที่อยู่บนพื้นฐานของศีล ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิธีคิดทางหลักศาสนา และ “คุณธรรม” (Moral) ซึ่งหมายถึง ธรรมชาติที่เป็นคุณ ซึ่งมาจากวิธีคิดแบบตรรกะและเหตุผล โดยยึดการมีเป้าหมายเป็นสิ่งที่ดี ในขณะที่ “วัฒนธรรม” (Culture) จะหมายถึง พฤติกรรมของสังคมหรือบรรทัดฐานในสังคมของมนุษย์ที่มีการเติบโต และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในที่นี้ วัฒนธรรมจะสะท้อนแนวปฏิบัติและคุณค่า (Value) ที่มนุษย์มองว่าเป็นสิ่งที่ดี โดยมนุษย์แต่ละคนจะมีการให้คุณค่าที่แตกต่างกัน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้จากการหล่อหลอมผ่านชุดความคิดและผลิตซ้ำในสังคมที่เปลี่ยนผ่านไปตามกาลเวลา

ดังนั้น คุณธรรมและจริยธรรม จึงเป็นกลไกของสังคมที่ทำหน้าที่เป็นบรรทัดฐานของความประพฤติ เป็นสิ่งที่กำหนดว่าอะไรควรประพฤติปฏิบัติ และจะต้องปลูกฝังให้กับคนในสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยกำกับการกระทำของคนในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้อง ทำให้ในทุกสังคมจึงให้ความสำคัญกับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับคนในประเทศ เพื่อที่จะเป็นเกราะป้องกันความไม่ถูกต้อง และสร้างสังคมที่มีความเจริญทางด้านจิตใจ อันจะส่งผลให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยอาศัยการส่งเสริม และปลูกฝังเรื่องคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่ในวัยเด็กผ่านการฝึกหัด และพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาควบคู่กันไป

สำหรับประเทศไทย ได้มีการดำเนินงานโครงการประเภทปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรม เพื่อต่อต้านการคอร์รัปชันเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นศีลธรรมในระดับปัจเจกบุคคล และวัฒนธรรมในระดับสังคมที่ให้คุณค่ากับเรื่องของการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขวาง และดำเนินงานมาเป็นเวลานาน จนสามารถสร้างพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ที่พร้อมเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน ยกตัวอย่างเช่น โครงการโรงเรียนโปร่งใส (School Governance) ที่สนับสนุนให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมสร้างเสริมธรรมาภิบาลในโรงเรียน พร้อมทั้งปลูกฝังความตระหนักรู้ต่อการป้องกันปัญหาคอร์รัปชัน และ โครงการโตไปไม่โกง ที่ช่วยส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกคุณธรรมของเด็ก เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันต่อปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในสังคม และเป็นคานงัดที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและต่อต้านการคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อต้านคอร์รัปชันที่เริ่มต้นจากในระดับฐานราก ที่จะเป็นพื้นฐานของการสร้างกลไกการต่อต้านคอร์รัปชันในเบื้องต้นของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค และสุภัจจา อังค์สุวรรณ. (2566). (ต่อต้าน) คอร์รัปชัน 101 ((Anti) Corruption 101). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
มีนาคม 2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค

หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
หัวข้อ
Related Content

เริ่มสร้างธรรมาภิบาลองค์กร เพื่อต่อกรปัญหาคอร์รัปชัน

การพัฒนาธรรมาภิบาล (Good Governance) ภายในองค์กร เป็นหนึ่งในวิธีการสำคัญในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในระดับองค์กร โดยอาศัยการออกแบบกระบวนการจัดการภายในองค์กรที่มีการวางแนวทางการทำงานให้มีเป้าหมายบนหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี …

ลงมือต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านกระบวนการ 4 ธรรม

กระบวนการปลูกฝังจริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม และวัฒนธรรม ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การปลูกฝังจิตสำนึกของผู้คนในสังคมให้เกิดการตระหนักรู้ที่จะไม่เข้าไปมีส่วนร่วมกับการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในสังคม …

จัดการคอร์รัปชันแบบรอบด้าน “ธรรมาภิบาล” คือคำตอบ

แนวคิดเรื่องธรรมาภิบาล เป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์ที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยในหลายประเทศได้มีการสร้างมาตรฐานและข้อกำหนดบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลที่สำคัญ 6 ประการ …

You might also like...

บทความวิจัย : การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี

แนวทางการพัฒนาเครือข่ายการต่อต้านทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการสื่อสารระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชน การสร้างตัวอย่างที่ดี การสร้างสังคมหิริโอตัปปะ และการสนับสนุนระบบการร้องเรียน ความโปร่งใส การป้องกันการทุจริต รวมถึงการมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้บริหาร

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ส่งเสริมธรรมาภิบาลให้กว้างไกลด้วยการสร้างรางวัลให้องค์กร

พาทุกคนมาศึกษาจุดเริ่มต้นของธรรมาภิบาลในประเทศไทยช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจไทย 2540 ที่นำมาสู่การมอบรางวัลเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลไทย ซึ่งจะทำให้เห็นถึงพัฒนาการและภาพรวมของธรรมาภิบาลในประเทศไทยมากขึ้น และการมีธรรมาภิบาลจะช่วยลดคอร์รัปชันได้อย่างไร ?

บทความวิจัย : การพัฒนาคู่มือแนวทางการนําหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้สําหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษา

แนวทางในการส่งเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อต่อต้านการทุจริตในสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ควรมีการกําหนดหลักการ กระบวนการ และแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และควรมีแผนการเรียนรู้และสื่อการสอนที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนในสถานศึกษา