ไม่ดีตรงไหน ? โปรตุเกสต้องปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อแก้ปัญคอร์รัปชัน
วันที่ 10 มกราคม 2024 ที่ผ่านมา The Council of Europe’s Group of States against Corruption (GRECO) หรือหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันแห่งสภายุโรปเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการทุจริตเรียกร้องต่อรัฐบาลโปรตุเกส เรื่องการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากการประเมินภาพรวมการทุจริตรอบที่ห้า (five evaluation rounds) ของ GRECO พบว่าหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันและความโปร่งใสในประเทศโปรตุเกสยังทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
โดย GRECO เสนอว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐควรได้รับการตรวจสอบความโปร่งใส ก่อนเข้ารับตำแหน่งและหลังออกจากตำแหน่ง รวมถึงต้องมีการเปิดบัญชีทรัพย์สินให้สาธารณชนได้รับรู้ ต้องปรับปรุงระบบการรับฟังความเห็นของประชาชน และเปิดข้อมูลให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ในส่วนหน่วยงานรัฐ ทั้งหน่วยงานตำรวจ (Public Security Police : PSP) และกองกำลังทหารแห่งชาติ (National Republican Guard : GNR) ต้องมีการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานอย่างโปร่งใสและยุติธรรม อีกทั้งยังต้องเพิ่มบุคลากรเพศหญิงให้มากขึ้นเพื่อส่งเสริมเรื่องของความเท่าเทียมทางเพศ และเพิ่มช่องทางการแจ้งเบาะแสทุจริต ซึ่งคำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มาจากคำแนะนำ 28 ข้อที่ GRECO ได้ประเมินให้กับประเทศโปรตุเกส และจะมีการประเมินอีกครั้งภายในปี 2568
สุดท้าย GRECO ได้กล่าวว่า คำแนะนำทั้งหมดไม่ได้กล่าวลอย ๆ ขึ้นมา แต่มาจากเหตุการณ์คอร์รัปชันที่เกิดขึ้นและการทำงานของรัฐบาลโปรตุเกสเมื่อปีที่ผ่านมา อย่างกรณีการลาออกของอดีตนายกฯ Antonio Costa เพราะพัวพันกับการทุจริต อีกทั้งยังมีผลสำรวจที่บอกว่าคนในประเทศโปรตุเกสมองว่าคอร์รัปชันในประเทศมีความรุนแรงและเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 4 ชาติ 4 แนวทาง หยุดทุจริตเชิงนโยบาย
เคยได้ยินชื่อของ “คดีทุจริตคลองด่าน” กันไหม ? นี่คือหนึ่งในคดีทุจริตครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่สร้างความเสียหายเป็นเงินกว่า 1,900 ล้านบาท ซึ่งการทุจริตที่ทำกันอย่างเป็นระบบจากคนหลายฝ่าย แบบนี้เราเรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบาย
KRAC Insight สรุปงานเสวนา | ทำอย่างไรจะช่วยลดการคอร์รัปชันจากช่องว่างของกฎหมาย?
ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “การประเมินและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงการคอร์รัปชันในกระบวนการนิติบัญญัติ”
KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I เปิดให้โปร่งใส ต้านโกงแบบใหม่ในจอร์เจีย
เนื่องจากการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินทางการเมืองต้องมีความโปร่งใส และเป็นสิ่งที่รัฐบาลจอร์เจียให้ความสำคัญ จึงได้ออกกฎหมายที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดยมีคำสั่งให้พรรคการเมืองที่ดำเนินกิจการในประเทศ …