ลงมือสู้โกง :‘เสียงของประชาชน’ ใช้เพื่อขับเคลื่อนปัญหา หรือว่ากลายเป็นเครื่องมือ

หนึ่งในหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตยนั่นคือการที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็น ซึ่งรัฐต้องเคารพและรับฟังเสียงของประชาชนในการนำมาแก้ไขปัญหาต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนาต่อไปในอนาคต ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าในช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาเกือบ 2 ปีนี้ ประชาชนต่างออกมาเรียกร้อง ส่งเสียงให้รัฐแสดงความรับผิดชอบ และแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตั้งแต่การบ่นลงในโซเชียลมีเดีย การจัดตั้งแคมเปญระดมรายชื่อเพื่อเรียกร้องการแก้ปัญหาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตลอดจนถึงการรวมตัวเรียกร้องในรูปแบบของม็อบต่างๆ ทั้งหมดนี้คือการส่งเสียงของประชาชนสู่รัฐ ซึ่งหลายกรณีถ้าเสียงของประชาชนดังมากพอ ก็สามารถทำให้รัฐหยุดรับฟังและนำไปปรับการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริงได้

แล้วถ้าพลังเสียงของประชาชนถูกนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและตัดสินทุกอย่างในประเทศได้จริง มันจะดีเสมอไปไหม ผู้เขียนจึงอยากชวนทุกท่านดูซีรี่ส์เรื่องดังจากเกาหลี “The devil judge” เพื่อให้เห็นภาพของพลังเสียงประชาชนได้ชัดเจนขึ้น หลายท่านที่ดูแล้วอาจจะมีความรู้สึกว่าเนื้อเรื่องนั้นช่างมีเรื่องราวใกล้ตัวเราเสียเหลือเกิน แต่ต้องขอย้ำว่าเนื้อเรื่องนั้นเกิดในประเทศเกาหลีอันเลวร้ายในจินตนาการของผู้แต่งซีรี่ส์ ไม่ได้มีเค้าโครงมาจากประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยสิ่งที่ซีรี่ส์เรื่องนี้ต้องการจะสื่อสารก็คือการทำให้ประชาชนชาวเกาหลี (อันเลวร้ายในจินตนาการ) ได้สามารถมีส่วนร่วมกับกระบวนการยุติธรรมได้ผ่านรายการพิพากษาสด สามารถกดโหวตได้ว่าอยากให้จำเลยถูกลงโทษหรือไม่ ผ่านแอปพลิเคชั่นกันแบบเรียลไทม์

ซึ่งการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินในคดีที่มีผลกระทบกับประชาชนจำนวนมากนั้นก็น่าจะดีใช่ไหมล่ะ แต่ประเด็นสำคัญที่ซีรี่ส์สะท้อนให้เห็นก็คือ นอกจากจะสามารถใช้เสียงของประชาชนมาตัดสินแก้ปัญหาอะไรสักอย่างได้แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่งประชาชนก็อาจจะตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดี ที่ปลุกปั่นด้วยข้อมูลเท็จจนทำให้ประชาชนเกรี้ยวกราด และใช้สิทธิ์ ใช้เสียงไปในการโจมตีอีกฝ่ายก็เป็นได้ หรือในอีกมุมหนึ่งที่ซีรี่ส์ได้เล่าให้เราเห็น คือการที่ปล่อยให้เด็กที่ยังไม่มีวุฒิภาวะมากพอมากดโหวตร่วมตัดสินเพียงเพราะเห็นว่าการลงโทษคนมันดูสนุกดี และสุดท้ายก็นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบจนเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่อง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้เสียงที่ประชาชน (ในซีรี่ส์) ส่งออกไป มันช่วยขับเคลื่อน หรือ กลายเป็นเครื่องมือกันแน่ ประเด็นนี้ต้องขอยกตัวอย่างคุณผู้พิพากษาสมทบ “โอจินจู” ที่พลาดไปเป็นเครื่องมือปลุกปั่นให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวจากโรคระบาดที่เป็นข่าวปลอมจากรัฐ เกิดความแตกตื่นและลุกขึ้นมาต่อต้านฝั่งตรงข้ามกับรัฐ แต่เมื่อมีคนช่วยเตือนสติแทนที่ “โอจินจู” จะเชื่อในทันที (ซึ่งอาจจะกลายเป็นโดนหลอกซ้ำสอง) เธอเลือกที่จะหาข้อมูลให้เห็นกับตาว่าความจริงคืออะไร และเลือกที่จะแก้ตัวด้วยการตีแผ่ความจริงสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นเหมือนการตีแสกหน้ารัฐบาล (เกาหลีอันเลวร้ายในจินตนาการ) นั่นยิ่งทำให้รัฐต้องรีบปิดหูปิดตาประชาชนด้วยการปิดรายการสด ตัดไฟ ตัดสัญญาณอินเตอร์เนตเพื่อให้ประชาชนไม่สามารถติดต่อกันได้ แต่ฉากนี้เองที่ดูแล้วยิ่งทำให้คนดูอย่างเราต้องกำหมัดแน่นขึ้นไปอีก เพราะยิ่งเห็นชัดว่ารัฐบาลกำลังพยายามปิดกั้นเท่าไร พลังของประชาชนก็ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น เพราะต่อให้ปิดไฟมองไม่เห็นความจริงที่คนต้องการเปิดเผยแต่ประชาชนก็มีเครื่องมือ มีไฟฉายที่สามารถให้แสงสว่างและเห็นความจริงได้

เราจะเห็นได้ว่าพลังของประชาชนมันสามารถสะท้อนออกมาได้ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อใช้ในการต่อสู้กับความอยุติธรรม หรือความไม่ชอบมาพากลในสังคมได้ ต่อให้คนทำผิดจะพยายามปกปิดแค่ไหน แต่ถ้าเราไม่ยอมทนกับความมืดมิดที่มีคนมาพยายามปิดหู ปิดตาเรานั้น เรามีสิทธิ์ที่จะส่งเสียงเพื่อความถูกต้องได้ แต่การจะใช้สิทธิ์ใช้เสียงในแต่ละครั้ง เราจำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้องแทนการใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว อาจจะกลายเป็นเครื่องมือของผู้ไม่หวังดีได้ ซึ่งในปัจจุบันการหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในยุคออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากเหมือนสมัยก่อน เราสามารถเข้าถึงข้อมูลเปิดสาธารณะของภาครัฐเพื่อติดตาม ตรวจสอบการทำงาน และการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศได้ผ่านระบบ ACTAi.co ที่รวบรวมข้อมูลให้ประชาชนสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย รวมถึงเมื่อเราร่วมติดตามตรวจสอบแล้วพบเห็นความผิดปกติของการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ หรือพบเห็นการกระทำที่ส่อทุจริต ก็สามารถช่วยส่งเสียงเพื่อหยุดการเกิดคอร์รัปชันได้ เพราะในปัจจุบันมีสื่อออนไลน์ต่างๆ เปิดแพลตฟอร์มเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งเสียงร้องเรียนการทุจริตสำหรับประชาชนอย่างปลอดภัย และนำไปสู่การหยุดการโกงได้จริง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางร้องเรียนการคอร์รัปชันของ ป.ป.ช. เพจปฏิบัติการหมาเฝ้าบ้าน เพจต้องแฉ และเพจชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย

ดังนั้นการ “หยุดโกง” ในปัจจุบันอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนอย่างเราจนเกินไป และสามารถทำได้หลายวิธีที่ปลอดภัย และเกิดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาได้จริง เพราะผู้เขียนเชื่อว่า เราทุกคนสามารถผดุงความยุติธรรมด้วยมือของเราเอง

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง

นันท์วดี แดงอรุณ

หน่วยงานสนับสนุน

หัวข้อ
Related Content

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เรามีคนโกงเพิ่มขึ้น หรือ เราจับคนโกงได้มากขึ้น

แจ้งไม่เยอะแน่นะวิ ! ปี 65 พบการแจ้งเรื่องทุจริตเกือบ 10,000 เรื่องในไทย เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าทั้งๆ ที่มีหน่วยงานปราบโกงที่มีอำนาจทางกฎหมายล้นเหลืออยู่หลายหน่วยงาน ทำไมระดับการคอร์รัปชันของไทยยังดูจะแย่ลงเรื่อยๆ

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อผมเรียนรู้การต้านคอร์รัปชัน จากร้านซักผ้า

หรือนี่คือช่างเชื่อมตัวจริง ? เมื่ออาจารย์ต่อภัสสร์พาคุณไปเรียนรู้การต่อต้านคอร์รัปชันจากการตามหาร้านซักผ้าในสหรัฐอเมริกา !

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เปิดตัว KRAC ศูนย์ความรู้ต้านโกง

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก ถ้าไม่แก้ไขทุกมิติอย่างครอบคลุมผลที่ตามมาอาจกลายเป็นเพิ่มปัญหาให้สังคมได้ จึงต้องใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือการใช้ความรู้ทางวิชาการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติจึงได้ร่วมมือกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้ง “ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค” (Knowledge hub for Regional Anti-corruption and good governance Collaboration: KRAC) ขึ้น เมื่อ 24 เมษายนที่ผ่านมา

You might also like...

KRAC Hot News I ปลดล็อกรังนกจากถ้ำสู่บ้านอย่างไร ให้โปร่งใสไร้ทุจริต

การส่งออกรังนกไทยมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค ธุรกิจรังนกจึงสร้างรายได้มหาศาลให้กับเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน แต่หากขาดการกำกับดูแลให้โปร่งใส อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมหาศาลกับธุรกิจไทยได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | “ธรรมาภิบาล” หลักการที่ยืดหยุ่น พร้อมสร้างประสิทธิภาพ

เคยสงสัยไหมว่าทำไมหลักธรรมาภิบาลของแต่ละองค์กรถึงดูไม่เหมือนกัน บางองค์กรมี 6 หลัก บางองค์กรมี 8 หลัก ความจริงแล้วหลากหลายองค์กรทั่วโลกล้วนมีการวางแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลที่ต่างกัน โดยงานวิจัยเรื่อง “โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูล องค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (ระยะที่ 2)” (2563) ได้ศึกษาเรื่องนี้เอาไว้

โครงการวิจัยพัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาล (Phase 2)

การศึกษาเพื่อสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินและติดตามการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการบริหารจัดการขององค์กรในประเทศไทย พบว่า มีความเหมาะสมในการนำไปใช้ในระดับมาก และยังสามารถปรับปรุงดัชนีชี้วัดบางตัวเพื่อให้สอดคล้องการทำงานของแต่ละหน่วยงานได้