โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้งจากมุมมองที่หลากหลาย และบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

คอร์รัปชันเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงมาก และมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริบท การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหานี้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความแตกต่างของปัญหาจากมุมมองที่หลากหลาย และเข้าใจบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้

ด้วยเหตุนี้ การประสานองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการนำผลการวิจัยไปสู่การทดลองในพื้นที่จริง แล้วนำผลการปฏิบัติจริงกลับมาศึกษา เพื่อส่งมอบให้องค์กรที่ทำงานต่อต้านคอร์รัปชันไปขับเคลื่อนต่อเนื่อง และเผยแพร่องค์ความรู้สู่สาธารณะ เพื่อขยายผลกระทบทางสังคม ให้ความรู้ และกระตุ้นความเป็นพลเมืองตื่นรู้สู้โกงของคนไทย จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ระบบนิเวศน์ของการต่อต้านคอร์รัปชันไทย

งานวิจัยเรื่องนี้ จึงมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมศักยภาพการทำงานของนักวิจัยภายใต้เครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชันได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะทีมนักวิจัยพื้นที่ในการออกแบบกลไกเฝ้าระวังการคอร์รัปชันร่วมกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่าน แม่ฮ่องสอน นครราชสีมา สงขลา และกรุงเทพมหานคร รวมถึงถอดบทเรียนเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการวิจัยด้านการต่อต้านคอร์รัปชันอย่างมีส่วนร่วมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทยได้

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • งานวิจัยเรื่องนี้ ได้วิเคราะห์และถอดบทเรียนการต่อต้านคอร์รัปชันของทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ น่าน และนครราชสีมา พบว่าปัญหาคอร์รัปชันในแต่ละพื้นที่ เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงมาก และมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบริบท การออกแบบกระบวนการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จำเป็นจะต้องเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง เข้าใจความแตกต่างของปัญหาจากมุมมองที่หลากหลาย และเข้าใจบริบทรอบด้านที่เป็นทั้งปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหานี้ เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่สามารถนำไปเสริมพลัง (empowerment) ของคนในพื้นที่ต่อการพัฒนากลไกและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนกลไกเฝ้าระวังการคอร์รัปชันในพื้นที่อย่างยั่งยืน
  • งานวิจัยเรื่องนี้ ระบุว่าการริเริ่มต่อต้านคอร์รัปชันและการส่งเสริมธรรมาภิบาล ควรเริ่มจากการวิเคราะห์บริบทของแต่ละพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การสร้างกลไกและส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่ โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อบริบทของแต่ละพื้นที่จากการศึกษา มีอยู่ด้วยกัน 3 ด้าน ได้เเก่ (1) ปัจจัยเชิงสถาบันโครงสร้าง (2) ความสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกชุมชน ระหว่างชุมชน และบุคคลภายนอก (3) บรรทัดฐานทางสังคมและบรรทัดฐานส่วนบุคคล ซึ่งปัจจัยทั้งสามด้านนี้ ส่งผลต่อศักยภาพในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ โดยเฉพาะรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนในพื้นที่ด้วยกันเอง และระหว่างหน่วยงานรัฐท้องถิ่นที่ใกล้ชิดกับประชาชน พบว่ารูปแบบของชุมชนชนบท ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านมีความสนิทสนมกัน แต่มีระยะห่างเชิงอำนาจกับหน่วยงานภาครัฐกว้างมาก ซึ่งแตกต่างจากชุมชนเมือง ที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนต่ำ มีความขัดแย้งสูง ส่งผลให้การออกแบบแนวทางการมีส่วนร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน ต้องมีความแตกต่างกันไปตามศักยภาพ และข้อจำกัดของพื้นที่
  • งานวิจัยเรื่องนี้ ได้วิเคราะห์หาปัจจัยส่งเสริมและอุปสรรคต่อการสร้างเสริมธรรมาภิบาล โดยพบว่าการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น ไม่จำเป็นต้องริเริ่มโดยครอบคลุมหลักธรรมาภิบาลทุกข้อ หากแต่สามารถริเริ่มแนวทางปฏิบัติแค่บางข้อที่มีความเหมาะสมกับบริบทด้านต่าง ๆ ของพื้นที่ เพื่อสามารถต่อยอดไปหลักธรรมาภิบาลข้ออื่น ๆ ได้ โดยการส่งเสริมธรรมาภิบาลอาจจะต้องเริ่มจากการส่งเสริมที่ตอบโจทย์ปัญหาคอร์รัปชันในแต่ละบริบทพื้นที่ เช่น ชุมชนเมือง ชุมชนชนบท เป็นต้น ซึ่งอาจเป็นการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลแค่บางข้อที่ช่วยลดข้อจำกัด และเสริมสร้างศักยภาพได้ เช่น หลักการมีส่วนร่วม หลักการตรวจสอบ และเมื่อหลักธรรมาภิบาลข้อดังกล่าวมีความเข้มแข็งดีเเล้ว การส่งเสริมให้เกิดหลักธรรมาภิบาลข้ออื่น ๆ ก็จะทำได้ง่ายขึ้น แล้วจึงขยายไปสู่การส่งเสริมธรรมาภิบาล และการต่อต้านคอร์รัปชันที่กว้างออกไป
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

ต่อภัสสร์ ยมนาค, สุภัจจา อังค์สุวรรณ, เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร, เจริญ สู้ทุกทิศ, ธิดาภรณ์ แป๊ะสมันสุภอรรถ โบสุวรรณ, นันท์วดี แดงอรุณ, จรัสศรี พะลายะสุต, และพัชรี ตรีพรม. (2563). โครงการประสานงานวิจัยและส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2563
ผู้แต่ง
  • ต่อภัสสร์ ยมนาค
  • สุภัจจา อังค์สุวรรณ
  • เฟื่องวิชญ์ สุวรรณเนตร
  • เจริญ สู้ทุกทิศ
  • ธิดาภรณ์ แป๊ะสมัน
  • สุภอรรถ โบสุวรรณ
  • นันท์วดี แดงอรุณ
  • จรัสศรี พะลายะสุต
  • พัชรี ตรีพรม
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการสำรวจการรับรู้และความเข้าใจด้านการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ของเจ้าหน้าที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประเทศไทย

ศึกษาและสํารวจข้อมูลระดับการรับรู้ของเจ้าหนาที่รัฐในองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีต่อความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เพื่อลดพฤติกรรมความขัดแย้งแห่งผลประโยชน์ในอนาคต

โครงการวิจัยและประสานงานเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน

เพื่อออกแบบงานวิจัยสำหรับแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันบนฐานการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาระบบและเครื่องมือใหม่ในการป้องกันและลดคอร์รัปชันในระดับพื้นที่

โครงการวิจัยเพื่อสังคมไทยไร้คอร์รัปชัน ระยะที่ 2

จัดทำข้อเสนอการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อต่อต้านการคอร์รัปชัน โดยเน้นแนวทางการวิจัยเพื่อทำความเข้าใจปัญหาคอร์รัปชันจากมุมมองของประชาชน ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) และกระบวนการ Design Thinking เต็มรูปแบบ

โครงการวิจัยการสังเคราะห์รูปแบบ กลไกและแนวทางการปลูกฝังเจตคติและวัฒนธรรมสุจริตเพื่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ศึกษาพัฒนาการของรูปแบบ กลไก และแนวทางการปลูกฝังเจตคติ และวัฒนธรรมสุจริตที่มีผลต่อการป้องกันการทุจริตของไทย และศึกษากรณีของต่างประเทศ เพื่อจัดทำเป็นข้อเสนอแนะต่อไป

You might also like...

บทความวิจัย : การทุจริตเชิงโครงสร้างในระบบเลือกตั้ง

การพิจารณาปัญหาการทุจริตการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละระบบ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อเป็นข้อมูลและฐานในการถกเถียงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : ปฏิวัติไม่ใช่ทางออก : การแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนในสังคมไทย

“ถ้ารัฐบาลนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งขึ้นโกง ก็ปฏิวัติเสียดีกว่า เอาคนดีมาจัดการนักการเมืองโกง” วาทกรรมที่คุ้นหูนี้สะท้อนความคิดที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อย้อนดูประวัติศาสตร์ การรัฐประหารที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประเทศไทย กลับไม่เคยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างยั่งยืน ตรงกันข้าม ปัญหากลับทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่าการใช้อำนาจเผด็จการเด็ดขาดไม่ใช่คำตอบ แต่กลับเป็นการให้อำนาจประชาชนอย่างแท้จริงผ่านระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็งต่างหาก

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : #JUSTICE_FOR_SEUNGHAN ส่องวิกฤติบริษัทที่ว่าด้วยศรัทธาสาธารณะ และภาพมายาความเป็นเจ้าของชีวิต ‘ไอดอล’ ของแฟนคลับ

ปรากฏการณ์สำคัญที่กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การที่บริษัทค่ายเพลงขนาดใหญ่อย่าง SM Entertainment ได้ออกแถลงการณ์ว่า ‘ฮง ซึงฮัน’ (Hong Seunghan) หนึ่งในสมาชิกของวง ‘RIIZE’ (ไรซ์) ซึ่งถูกพักงานและระงับการเข้าร่วมกิจกรรมของวงเป็นการชั่วคราวเมื่อปีที่ผ่านมา