โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน

ประเมินผลการทำงานขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ทั้งสำนักงาน ป.ป.ช. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

การศึกษานี้ เพื่อประเมินผลการดําเนินการขององค์กรอิสระที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ 

โดยมุ่งประเมินว่าเมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างขององค์กร เพื่อแก้ปัญหาการแทรกแซงทางการเมืองแล้ว องค์กรเหล่านี้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเพราะเหตุใด โดยเน้นมิติของการเป็นอิสระจากการเมือง ทั้งในเชิงของอํานาจ และทางการเงิน ซึ่งเป็นหลักการสําคัญในการจัดตั้งองค์กรเหล่านี้ขึ้นมา 

ผลการศึกษา พบว่าแม้องค์กรทั้งสามแห่งจะถูกบัญญัติด้วยรัฐธรรมนูญให้เป็นองค์กรอิสระในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน แต่องค์กรทั้งสามแห่ง ยังคงประสบกับปัญหาในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ได้เเก่ ความไม่เพียงพอของงบประมาณในการดําเนินงาน ซึ่งยังต้องพึ่งพารัฐบาลในการจัดสรรงบประมาณ และขาดความโปร่งใสในการดําเนินการ เนื่องจากมีการเปิดเผยข้อมูลผลการดําเนินงานสู่สาธารณะที่ไม่ครบถ้วน และไม่ทันการณ์

สรุปประเด็นจากงานวิจัย

  • ผลการวิเคราะห์บทบาทของหน่วยงานทั้งสามแห่ง พบว่าทั้งสามหน่วยงาน มีภารกิจที่สําคัญที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
    1. ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นหน่วยงานหน้าด่านในการรับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานของภาครัฐปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นธรรมต่อประชาชน ซึ่งไม่จําเป็นต้องเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมายอย่างเดียวเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ตรวจการแผ่นดินสามารถรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนได้อย่างหลากหลาย
    2. สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีภารกิจที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐ ซึ่งประกอบด้วยการตรวจสอบความถูกต้องตามกระบวนการ และขั้นตอนทางงบประมาณ รวมถึงการตรวจสอบความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณด้วย (value for money audit) ซึ่งจะเป็นการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการของภาครัฐได้
    3. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เป็นหน่วยงานหลักในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน จึงมีกรอบค่อนข้างกว้างในการทำงาน กล่าวคือ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งส่งเสริมการตระหนัก และการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม และปัญหาของการทุจริตคอร์รัปชันด้วย
  • ผลการประเมินหน่วยงานทั้งสามแห่ง พบว่าองค์กรทั้งสามแห่ง ยังคงประสบกับปัญหาในการดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านโครงสร้าง การดําเนินงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยในด้านโครงสร้าง พบว่าองค์กรทั้งสามแห่ง มีอิสระในเชิงโครงสร้างอํานาจหน้าที่ แต่ไม่มีอิสระในด้านงบประมาณ ในด้านการดําเนินงาน พบว่าขาดงบประมาณ และบุคลากรที่เพียงพอ ทำให้มีบัญชีของหน่วยงานราชการที่ไม่ได้รับการตรวจสอบจํานวนมาก เเละในด้านความรับผิดชอบ พบว่ามีการรายงานเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ ต่อคณะรัฐมนตรี วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร แต่ส่วนใหญ่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ และยังพบว่ามีการเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะค่อนข้างน้อย ทําให้การตัดสินใจของหน่วยงานอิสระขาดความโปร่งใส
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1. ด้านโครงสร้าง ควรมีความหลากหลายของกรรมการสรรหา และกรรมการองค์กรอิสระ นอกจากนี้ ในส่วนของสำนักงาน ป.ป.ช. ควรกําหนดวงเงินงบประมาณต่อรายหัวประชากร ในกรณีของสํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ควรมีกฎหมายกําหนดให้หน่วยงานราชการต้องกันงบประมาณ เพื่อให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบความคุ้มค่าของโครงการที่มีมูลค่าสูงของหน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2. ด้านการดําเนินงาน ควรกําหนดค่าตอบแทนของกรรมการองค์กรอิสระ ให้ไม่น้อยกว่ากรรมการของหน่วยงานที่ต้องตรวจสอบ และองค์กรอิสระควรออกระเบียบ เพื่อกําหนดค่าตอบแทนที่จูงใจต่อการดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะที่ต้องการเข้ามาทำงาน รวมทั้ง กระจายอํานาจให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สามารถดําเนินคดี และมีอํานาจในการสั่งยับยั้งการเบิกจ่ายเงิน กรณีที่ตรวจพบการกระทําที่ส่อทุจริต
    3. ด้านความรับผิดชอบ ควรกําหนดระยะเวลาที่วุฒิสภา หรือฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องรับรองรายงานขององค์กรอิสระ รวมทั้งมีข้อกําหนดให้องค์กรอิสระต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลกรณีที่มีการสืบสวน สอบสวน ทั้งในอดีตและในปัจจุบันเท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายแก่สาธารณชนด้วย
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ และธิปไตร แสละวงศ์. (2558). โครงการประเมินองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการต่อต้านคอร์รัปชัน. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2558
ผู้แต่ง
  • เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
  • วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี
  • ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ
  • ธิปไตร แสละวงศ์
หน่วยงาน
หัวข้อ
Related Content

โครงการศึกษาเรื่องการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาต โดยใช้อำนาจรัฐ

ศึกษาการตรวจสอบดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการออกใบอนุญาต และศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเสนอแนะมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการศึกษามาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเพื่อป้องกันการทุจริต: การแสวงหาค่าตอบแทนส่วนเกินและเศรษฐศาสตร์การเมืองของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก

เพื่อประมาณการต้นทุน รายรับ การขาดทุน ต้นทุนสวัสดิการสังคมของโครงการรับจํานําข้าวเปลือก และประมาณการผลตอบแทนส่วนเกินที่ตกแก่กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์การแสวงหาค่าเช่า และศึกษาการทุจริตของผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการพัฒนากฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

เพื่อศึกษาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 244 มาตรา 245 ประกอบมาตรา 221 เกี่ยวกับการวางระบบการร่วมมือกันทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อกำหนดมาตรการ และวิธีการทำงานร่วมมือกันของ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล

You might also like...

KRAC Hot News I ไฟฟ้าไทยแพง เพราะภาคพลังงานยังโปร่งใสไม่พอ

เพราะไฟฟ้าได้กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว แต่ที่น่ากังวล คือไฟฟ้ายังคงเป็นปัจจัยเดียวที่ราคาไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาด ที่สำคัญยังเหมือนจะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย…ทำไมค่าไฟฟ้าของไทยยังแพง และมีบทเรียนจากต่างประเทศอะไรบ้าง

บทความวิจัย : ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัด ในการรวบรวมพยานหลักฐานในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ในองค์การบริหารส่วนตำบล

ความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด มีปัญหาหลักมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินการ

บทความวิจัย : รูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนววิถีพุทธในงานต่อต้านการทุจริต และการสร้างเครือข่ายต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน

การพัฒนากิจกรรมสำหรับต่อต้านการทุจริตควรมีการประยุกต์หลักพุทธธรรมและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ