KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I 3 แนวทางแจ้งทุจริตปลอดภัย ในมาเลเซีย

เปิดโปงแต่ไม่ปลอดภัย รัฐทำอะไรได้บ้าง ?

อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซียได้เคยกล่าวปราศรัยกับเจ้าหน้าที่รัฐของมาเลเซีย โดยพูดถึงการใช้งบประมาณของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาที่มากเกินไป และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐช่วยกันตรวจสอบและป้องกันการทุจริต เพื่อลดการสูญเสียงบประมาณที่ไม่จำเป็น ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐสามารถร้องเรียนกับนายกฯ อันวาร์ได้โดยตรง

การปราศรัยครั้งนี้ทำให้นายกฯ อันวาร์ได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมาก แต่ C4 (The Center to Combat Corruption and Cronyism) ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาสังคมของมาเลเซียกลับไม่เห็นด้วย เพราะยังมีคำถามต่อคำปราศรัยดังกล่าว เช่น การที่นายกฯ อันวาร์เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบแล้วรัฐมีมาตรการสำหรับการปกป้องคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือไม่ ? การแจ้งกับนายกฯ ให้ทราบคนเดียวมีความเป็นกลางมากพอหรือไม่ ? หากแจ้งแล้วจะนำไปสู่การลดการทุจริตได้อย่างไร ?

จากคำถามมากมายที่ดูเหมือนจะเป็นช่องโหว่ ทาง C4 จึงได้แนะนำต่อว่า หากรัฐต้องการจะป้องกันความเสียหายของงบประมาณที่เกิดจากการคอร์รัปชัน ก็ควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขกฎหมาย การจัดซื้อจัดจ้าง โดยมี 3 ข้อแนะนำที่รัฐบาลควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

แก้ไขกฎหมายการอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลภายนอก เช่น สื่อ สมาชิกรัฐสภา องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานต่าง ๆ แก้ไขกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสทุจริต ที่นำเรื่องทุจริตมาเปิดเผย เพื่อไม่ให้ถูกกฎหมายเล่นงาน แก้ไขกฎหมายเรื่องอำนาจหน่วยงานรัฐในการพิจารณาเพื่อเพิกถอนความคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส โดยกฎหมายปัจจุบันที่ไม่ให้โอกาสกับหน่วยงานในการพิจารณาความคุ้มครอง ทำให้ผู้แจ้งเบาะแสอาจโดนเพิกถอนความคุ้มครองทันที และทำให้อาจได้รับผลกระทบจากการดำเนินการทางกฎหมายได้ง่ายขึ้นด้วย

นอกจากนี้ C4 ยังเรียกร้องให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่เฉพาะในการดูแลสิทธิ์การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการทุจริต โดยมองว่าการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐจะสร้างความโปร่งใส และทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ รวมถึงกฎหมายจะต้องสามารถปกป้องผู้แจ้งเบาะแสทุจริตได้ ปัญหาคอร์รัปชันไม่ใช่สิ่งที่นายกฯ อันวาร์ สามารถจัดการทั้งหมดได้ด้วยตัวคนเดียว C4 จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเร่งด่วน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต

การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต

ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”

กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน

You might also like...

ยุุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชน

จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix 4 ของโครงการต่าง ๆ ของรัฐ สามารถพัฒนาเป็นโมเดลยุทธศาสตร์ เพื่อช่วยลดปัญหาคอร์รัปชันในโครงการพัฒนาของรัฐระดับชุมชนได้

แนวหน้าต่อต้านคอร์รัปชัน : เมื่อ ‘งบก่อสร้าง’ ไม่ได้สร้างแค่ถนน แต่สร้างรายได้พิเศษให้บางคนด้วย

จากที่ผมได้รับเกียรติให้เข้าร่วมเป็นกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ในนามนักวิชาการอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ผมถือว่าหน้าที่นี้คือโอกาสสำคัญที่จะได้ตรวจสอบการใช้งบประมาณแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | การต่อต้านการทุจริต อาจต้องเริ่มที่ความเข้าใจของประชาชน

ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิทธิการรับรู้ข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 1,041 คน ในปี 2562 ชี้คนไทยครึ่งประเทศไม่รู้ว่า ตัวเองมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน ป.ป.ช.