ซิมบับเวมีวิธีแก้ปัญหาคอร์รัปชันอย่างไร ?
Zimbabwe Anti-Corruption Commission (ZACC) คณะกรรมการปราบปรามและต่อต้านการทุจริตซิมบับเว ได้มีการออกนโยบายต่อต้านการทุจริตในปี 2022 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน และทำให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบ และการป้องกันการติดสินบนในพื้นที่ชนบทของซิมบับเว
นโยบายดังกล่าวพยายามทำให้ประชาชนทุกพื้นที่ของซิมบับเวเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องคอร์รัปชันมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเขต 9 ของ Mashonaland East เขตเศรษฐกิจของซิมบันเวเป็นหนึ่งในเขตที่ได้รับการอบรมจาก ZACC ซึ่ง Michael Santu ผู้เป็นกรรมาธิการก็ได้ออกมากล่าวถึงการเดินหน้าต่อสู้คอร์รัปชันว่า “เรา ZACC ในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการต่อต้านการคอร์รัปชัน เราจะทำหน้าที่ในการต่อสู้กับปัญหาการคอร์รัปชันทั่วทุกพื้นที่ในซิมบับเว เราต้องการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการต่อต้านคอร์รัปชันให้กับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เราจะต้องสืบสวนและเราจะทวงคืนผลประโยชน์ที่ต้องเสียไปจากการทุจริต” Michael santu กล่าว
โดยนโยบายข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของต่อต้านคอร์รัปชันตามกลยุทธ์ 6 เสาหลักของ Emmerson Mnangagwa ประธานาธิบดีซัมบับเว ซึ่งเป็นจะรากฐานในการต่อต้านคอร์รัปชันในซิมบับเวในปีต่อ ๆ ไป
เสาหลักที่ 1 เสริมศักยภาพและสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เสาหลักนี้เป็นการสนับสนุนให้บุคลากรหรือองค์กรที่ให้ความรู้แก่ประชาชนสร้างสรรค์เนื้อหาด้านการทุจริตให้กลายเป็นหนึ่งกิจกรรมที่เข้าไปอยู่ในชีวิตและการทำงานในแต่ละวัน
เสาหลักที่ 2 การปราบปรามคอร์รัปชัน เสาหลักนี้จะเป็นเรื่องของความร่วมมือระหว่าง ZACC ตำรวจ กรมสรรพากร ธนาคารกลาง และหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อร่วมมือกันในการสอบสวนการทุจริตอย่างละเอียด
เสาหลักที่ 3 การส่งเสริมให้หน่วยงานมีความรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการมอบหมายให้หน่วยงานรัฐต้องมีมาตรการโปร่งใสและความรับผิดชอบ
เสาหลักที่ 4 สร้างความยุติธรรม เสาหลักนี้จะเกี่ยวกับการทำงานของระบบยุติธรรมในซิมบับเว ซึ่งทาง ZACC จะทำให้กับคณะกรรมการตุลาการ หน่วยงานอัยการ และองค์กรด้านกฎหมาย มีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรมในการตัดสินคดีการทุจริต
เสาหลักที่ 5 การป้องกันการสูญเสียจากการคอร์รัปชัน เสาหลักนี้จะเป็นการมอบหมายให้ ZACC ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกู้คืนทรัพย์สินทั้งหมดที่มาจากการคอร์รัปชันกลับคืนมา
เสาหลักที่ 6 การส่งเสริมให้นักการเมืองทุกคนเต็มใจและเป็นแบบอย่างให้กับสังคมในการต่อสู้กับการทุจริต
.
เสาหลักทั้งหมดแสดงถึงการวางแผนในการต่อต้านคอร์รัปชันที่ครอบคลุมตั้งแต่ระดับหน่วยงานภาครัฐไปจนถึงชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ซิมบับเวมีความพยายามจะสร้างการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน แนวทางของซิมบับเวจึงเป็นสิ่งน่าจับตามองต่อไปว่าจะสร้างผลกระทบได้แค่ไหน หากประสบความสำเร็จเสาหลักทั้ง 6 อาจกลายเป็นแบบอย่างที่ดีที่จะนำมาสู่การลดคอร์รัปชันได้จริง
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I ในสังคมที่มีความร่วมมือหรือความไว้เนื้อเชื่อใจกันสูง รัฐจะสร้างประโยชน์จากข้อค้นพบนี้อย่างไร ?
มุมมองของประชาชนต่อหน่วยงานรัฐ หนึ่งกลุ่มจ่ายภาษี อีกกลุ่มเข้ามาทำหน้าที่พัฒนาบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ แต่มีหลายครั้งที่โครงการไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน เช่น ศาลาสร้างทิ้งไว้ไม่มีคนใช้ จนบางครั้งประชาชนต้องลงแรงทำกันเอง
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | หลังฉากความสำเร็จการพัฒนาโครงการ งบประมาณถึงมือชาวบ้านหรือมือใคร ?
ทราบหรือไม่ว่ายังมีอีกหลายโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการพัฒนาชุมชน แต่กลับสูญเปล่า หรือไม่คุ้มค่ากับที่ตั้งใจไว้ ทำให้ชาวบ้านที่ฝันไกลว่าอยากให้ชุมชนพัฒนาแค่ไหน แต่งบประมาณกลับไปไม่ถึง
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ลดการโกง ผ่านการสร้างวัฒนธรรมชุมชนที่ดี
หากกล่าวถึง “สาเหตุของคอร์รัปชัน” สิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงอาจเป็น นักการเมืองที่จ้องจะโกงหรือตัวกฎหมายที่มีช่องว่างให้คนโกง แต่จริง ๆ แล้วเรื่องใกล้ตัวอย่าง “วัฒนธรรมชุมชน” ก็เป็นหนึ่งในกลไกที่เอื้อให้เกิดการคอร์รัปชันได้เช่นกัน