KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I 7 เคล็ดลับ ปฏิรูปคอร์รัปชันอย่างไร ไม่ให้ “หยุดชะงัก”

ทำอย่างไรหากการปฏิรูปคอร์รัปชันต้องเจออุปสรรค ?

อย่างที่รู้กันว่าคอร์รัปชันเป็นปัญหารุนแรงที่หลายประเทศต้องพบเจอ และต่างก็พยายามหาแนวทางปฏิรูปเพื่อแก้ไข แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ใช่ทุกนโยบายจะประสบความสำเร็จ หลายครั้งการปฏิรูปต้องเจอกับอุปสรรคทำให้ไปต่อไม่ได้ เช่นเดียวกับหลายประเทศในยุโรปอย่างมาซิโดเนีย อาร์เมเนีย หรือยูเครนที่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาที่พยายามจะปฏิรูปการคอร์รัปชันอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด แต่กลับต้องหยุดชะงักเพราะขาดเป้าหมายที่ชัดเจนและการขัดขวางทางการเมือง

U4 ANTI-CORRUPTION องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันสากลที่จัดตั้งขึ้นโดยประเทศนอร์เวย์ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ได้สัมภาษณ์ 2 ผู้มีประสบการณ์ด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน คือ Eka Tkeshelashvili หัวหน้าฝ่ายการต่อต้านทุจริตของ Management Systems International (ประเทศยูเครน) และเป็นนักปฏิรูปคอร์รัปชันที่เป็นที่รู้จักในประเทศจอร์เจีย และ Tanya Khavanska นักวิเคราะห์กฎหมายขององค์กรต่อต้านการทุจริตยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง (OECD Anti-Corruption Network for Eastern Europe and Central Asia : OECD/ACN) ซึ่งได้สรุปออกมาเป็น 7 ข้อสำคัญเพื่อไม่ให้การปฏิรูปคอร์รัปชันหยุดชะงักหรือติดขัดจากอุปสรรคต่าง ๆ

1. สร้างพันธมิตร : ปัญหาหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปฏิรูปการคอร์รัปชันคือการเผชิญหน้ากับชนชั้นนำหรือกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย ทำให้เกิดความพยายามขัดขวาง ดังนั้นการสร้างพันธมิตร เช่น นักการเมือง นักเคลื่อนไหว สื่อ หรือองค์กรระหว่างประเทศ จึงเป็นแนวทางที่จะลดแรงต้านจากการถูกขัดขวางของชนชั้นนำและผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ได้

2. ชนะด้วย Quick Win : ความสำเร็จระยะสั้นในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน จะช่วยให้สังคมเห็นผลของการปฏิรูปได้เร็วขึ้น และสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความเชื่อมั่น และเป็นรากฐานที่สำคัญของการต่อต้านคอร์รัปชันที่ยั่งยืนในระยะยาวได้ อย่างในประเทศจอร์เจียที่ได้ปฏิรูปการทุจริตการจ่ายสินบนในกระบวนการทำพาสปอร์ตและบัตรประชาชนที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลมากขึ้น

3. ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน : การปฏิรูปการคอร์รัปชันจำเป็นต้องใช้คนที่มีความเชี่ยวชาญ หลายประเทศพยายามที่จะผลิตบุคลากรที่มีความสามารถ แต่ถึงเวลาจริงกลับใช้คนไม่ตรงกับความสามารถทำให้ไม่เกิดประสิทธิภาพมากพอ ผู้มีอำนาจจึงต้องมอบหน้าที่ให้กับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในด้านที่พวกเขาถนัดและเหมาะสม

4. เปิดเผยและสร้างความร่วมมือขององค์กรเครือข่าย : การปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชันจำเป็นต้องทำให้องค์กรที่กำลังทำงานอยู่ได้เห็นว่างานนั้นเชื่อมโยงกับองค์กรเครือข่ายอย่างไร เช่น งานที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันทำจะเชื่อมโยงไปถึงฝ่ายตุลาการอย่างไร เพื่อเกิดการประสานงาน เกิดความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกัน

5. ผลักดันบทบาทขององค์กรภายในประเทศ : การปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชันไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกเสมอไป แต่สามารถการผลักดันองค์กรภายในประเทศให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้ เช่น
ภาคประชาสังคม นักข่าว นักการเมือง หรือภาคธุรกิจชั้นนำ ที่จะกลายเป็นกลไกนำไปสู่การปฏิรูปที่สำเร็จได้

6. เปิดพื้นที่เกิดการโต้เถียงและพูดคุย : การปฏิรูปปัญหาคอร์รัปชันคงเป็นไปได้ยาก ถ้าประชาชนยังถูกจำกัดพื้นที่ หรือห้ามพูดในบางเรื่อง รัฐควรเปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถพูดเรื่องคอร์รัปชันได้อย่างอิสระโดยอยู่บนพื้นฐานความจริง รวมไปถึงการสนับสนุนให้นักข่าวหรือองค์กรภาคประชาสังคมออกมาร่วมส่งเสียงด้วย

7. รัฐต้องสื่อสารอย่างเห็นภาพ : ประชาชนเป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของการปฏิรูปคอร์รัปชัน แต่หลายครั้งที่รัฐ
ไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าใจถึงความสำคัญของการต่อต้านคอร์รัปชันได้ รัฐต้องทำให้ประชาชนเห็นว่า
การต่อต้านคอร์รัปชันส่งผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง เช่น การคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างจะส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาอย่างไร ความโปร่งใสจะเพิ่มโอกาสให้คนมีงานทำมากขึ้นมากแค่ไหน ซึ่งต้องรณรงค์ให้ข้อมูลเหล่านี้เข้าถึงประชาชนผ่านช่องทางสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2567
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC Insight | สรุปงานเสวนา จะบริหารงบประมาณอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและป้องกันการคอร์รัปชันได้?

ชวนอ่านสรุป “การประชุมเชิงวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หัวข้อ “โครงการริเริ่มสนับสนุนการพัฒนาการกำกับดูแลและส่งเสริมการบริหารการเงินที่โปร่งใสและมีความรับผิดชอบ”

KRAC Insight | บรรษัทภิบาล ศัพท์ไม่ใหม่ที่ควรปรับใช้กับภาคเอกชน !

รู้หรือไม่ “บรรษัทภิบาล” สามารถช่วยภาคเอกชนในการพัฒนาองค์กรได้ ! แต่ช่วยอย่างไร…วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “the Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น