แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต

การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนต้องให้ความสำคัญกับเจตจํานงของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และค่านิยมของประชาชนที่ไม่เพิกเฉยต่อการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

จากข้อมูลสถิติของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) พบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการกล่าวหาร้องเรียนกรณีคอร์รัปชันมากกว่า 6,000 เรื่อง และเมื่อพิจารณาวงเงินงบประมาณที่มีการคอร์รัปชันตามคำกล่าวหา มีมูลค่าสูงถึง 90,716 ล้านบาท โดยคดีที่สร้างความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ คดีคอร์รัปชันในการจัดทำงบประมาณ/โครงการ/เบิกจ่ายเงินเท็จ 67,027 ล้านบาท การจัดซื้อจัดจ้าง 19,363 ล้านบาท และยักยอก/เบียดบังทรัพย์สินของราชการ 70 ล้านบาท มูลค่าความเสียหายดังกล่าวแสดงถึงความสำคัญของปัญหาการคอร์รัปชันที่ควรมีแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดความสูญเสียงบประมาณที่เกิดขึ้น

จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ คือ

  1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ ความเสียหาย และผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทุจริตในประเทศไทย
  2. เพื่อศึกษาความสําคัญ แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงานในต่างประเทศ
  3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตในกระบวนการงบประมาณ
  4. เพื่อหาแนวทาง มาตรการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระบวนการงบประมาณ

ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคอร์รัปชันที่สําคัญ คือ ปัจจัยภายนอก เช่น การใช้อํานาจของผู้บริหารระดับสูง การบังคับใช้กฎหมาย และระบบการตรวจสอบภายในที่อ่อนแอ ปัจจัยภายใน เช่น ทัศนคติและค่านิยมส่วนบุคคล โอกาสและแรงจูงใจ พฤติกรรมเลียนแบบ

ในส่วนของการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 2 ส่วนสําคัญ คือ หนึ่ง เจตจํานงของผู้บริหารระดับสูง และสอง ค่านิยมของประชาชนที่ไม่เพิกเฉยต่อการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยทั้งสองส่วนต้องมีการดำเนินการควบคู่กันไป คือ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกําหนดนโยบายการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวดเร็ว ขณะที่ภาคประชาชนจะต้องร่วมกันสร้างแรงกดดันให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าทำความผิด ติดตามการดําเนินงานของหน่วยงานและผลการสืบสวนสอบสวนคดีคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น

สรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอของงานวิจัย

  • การทุจริตในกระบวนการจัดทําและอนุมัติงบประมาณเป็นการกระทําที่ตรวจสอบยากเพราะไม่ทิ้งหลักฐานไว้แต่จะสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมากเนื่องจากจัดสรรทรัพยากรผิด
  • ปัจจุบันมีประชาชนจํานวนมากที่ต้องการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคอร์รัปชัน แต่ไม่ทราบแนวทางการตรวจสอบที่เป็นรูปธรรม ดังนั้น จึงควรหาเครื่องมือที่ไม่ยุ่งยาก เข้าใจง่ายให้ประชาชนร่วมตรวจสอบการทํางานทั้งภาครัฐ และท้องถิ่นของตนเอง
  • การดําเนินคดี สอบสวน การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปด้วยความล่าช้า เห็นได้จากมีคดีค้างการพิจารณาแต่ละปีมากกว่าร้อยละ 80 นอกจากนี้ โครงสร้างองค์กรด้านการตรวจสอบคอร์รัปชันจะต้องมีกลไกในการถ่วงดุลและตรวจสอบที่เหมาะสม  
  • คณะผู้วิจัย ได้จัดทำข้อเสนอแนะ ดังนี้ 
  1. การดําเนินการป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชันในกระบวนการงบประมาณที่สําคัญ ควรเริ่มจากเจตจํานงของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
  2. ร่วมกันเปิดเผยข้อมูลงบประมาณอย่างละเอียด และการสร้างการตระหนักรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการคอร์รัปชันในกระบวนการงบประมาณให้กับภาคประชาชนและภาคประชาสังคม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ
เอกสารอ้างอิง
รูปแบบ APA

สำนักงบประมาณของรัฐสภา. (2564). เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 15/2564 แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต. สำนักงบประมาณของรัฐสภา

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง

สำนักงบประมาณของรัฐสภา

หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

แนวทางการพัฒนาระบบตรวจสอบภายในกับธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน

วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาระบบการตรวจสอบภายในของผู้ตรวจสอบภายใน ให้สามารถสนับสนุนการบริหารราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีกรณีศึกษาในพื้นที่ภาคเหนือ 8 จังหวัด

แนวทางการป้องกันและลดความสูญเสียงบประมาณจากการทุจริต

การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอย่างยั่งยืนต้องให้ความสำคัญกับเจตจํานงของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และค่านิยมของประชาชนที่ไม่เพิกเฉยต่อการคอร์รัปชันของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ศึกษารูปแบบและปัจจัยเสี่ยงของการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขหรือกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | แก้คอร์รัปชันต้องเริ่มที่ปัจจัยไหน โครงสร้างหรือค่านิยมที่ผิด ?

ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยยังเป็นปัญหาใหญ่ที่ยังแก้ไม่หาย แม้จะมีการก่อตั้งหน่วยงานและมีนโยบายออกมาป้องกันและปราบปรามมากมายแต่ก็ยังไม่ดีขึ้นมากนัก แล้วต้นเหตุของมันคืออะไร ? ชวนมาดูการวิเคราะห์ปัจจัยการคอร์รัปชันเชิงโครงสร้างภาครัฐ

KRAC Update เล่าข่าวต้านคอร์รัปชัน I เคนยาไม่มองข้ามเยาวชน หน่วยงานรัฐร่วมเซ็น MOU ผลักดันเยาวชนแก้ปัญหาทุจริต

คณะกรรมการจริยธรรมและต่อต้านการทุจริตประเทศเคนยา (Ethics and Anti‑Corruption Commission: EACC) จับมือกับเยาวชนเพื่อหนุนเสริมความคิดสร้างสรรค์ที่จะคิดค้นแนวทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับคอร์รัปชัน

การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารราชการของกลุ่มประเทศสามเหลี่ยมทองคำ

ธรรมาภิบาลในสามเหลี่ยมทองคำ วิเคราะห์แนวทางการบริหารราชการของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อพัฒนาระบบราชการไทย เสริมสร้างความร่วมมือชายแดน และรักษาเสถียรภาพภูมิภาคอย่างยั่งยืน