KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I Blockchain กำลังขโมยเครดิตการปราบปรามทุจริตในจอร์เจีย

จอร์เจียสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตด้วย Blockchain เพียงอย่างเดียวหรือไม่ ?

ปี 2546 จอร์เจียประเทศเล็ก ๆ ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างยุโรปตะวันออก และเอเชียตะวันตก เกิดเหตุการณ์ “ปฏิวัติดอกกุหลาบ” (Rose Revolution) ที่มีต้นเหตุมาจากการบริหารที่ล้มเหลว และการทุจริตของรัฐบาล ส่งผลให้นาย Eduard Shevardnadze ประธานาธิบดีคนที่ 2 ต้องลาออก หลังจากนั้นจอร์เจียจึงเริ่มปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในประเทศจนประสบความสำเร็จ โดยแนวทางที่ได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดคือการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain มาใช้ในปี 2559 ซึ่งบทความจาก Per Aarvik นักวิจัยและนักเขียนด้านเทคโนโลยีการต่อต้านคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาลได้กล่าวว่า นี่อาจจะเป็นการให้เครดิตเกินจริง

Per Aarvik ชวนย้อนกลับไปดูช่วงหลังปฏิวัติ รัฐบาลจอร์เจียได้เริ่มแก้ไขปัญหาด้วยการออกกฎหมาย “Law on State Registry” ตั้งแต่ปี 2547 ซึ่งเป็นวิธีการเปลี่ยนรูปแบบการลงทะเบียนที่ดินและทรัพย์สินในระบบรัฐผ่านหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลของรัฐที่ชื่อว่า National Agency of Public Registry (NAPR) ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลที่ดิน ข้อมูลหน่วยงานรัฐ ข้อมูลพรรคการเมือง ให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและลดการทุจริต โดยหนึ่งในแนวทางที่จอร์เจียใช้ คือการเปลี่ยนสินบนให้มาอยู่ในกรอบกฎหมาย จากเดิมที่ประชาชนจะต้องจ่ายสินบนให้ข้าราชการที่ทุจริตเพื่อดำเนินการให้เร็วขึ้น เปลี่ยนมาเปิดให้มีการจ่ายเงินกับหน่วยงานโดยตรงเพื่อเร่งดำเนินการ ซึ่งเงินส่วนนี้ก็จะเข้ามาที่รัฐแทน ความพยายามแก้ไขคอร์รัปชันที่กล่าวมา ทำให้ดัชนีการรับรู้การทุจริตหรือคะแนน CPI ของ จอร์เจียดีขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อมาในปี 2559 จอร์เจียภายใต้รัฐบาลของนาย Bidzina Ivanishvili ประธานาธิบดีคนที่ 10 ได้ร่วมมือบริษัท Bitcoin Bitfury ในการนำระบบ Blockchain รูปแบบ Exonum มาใช้ เพราะเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย เพราะข้อมูลจะไม่มีทางถูกเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ซึ่งตามหลักแล้ว Blockchain จะช่วยเพิ่มความเชื่อใจของประชาชนมากขึ้น แต่ในความจริงกลับไม่เป็นแบบนั้น เพราะข้อมูลยังมีโอกาสถูกแก้ไขในกระบวนการก่อนที่จะถูกนำจัดเก็บใน Blockchain เช่น ข้อมูลที่เป็นชื่อ หรือธุรกรรม

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า แนวทางที่ช่วยแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในจอร์เจียส่วนใหญ่มาจากการปฏิรูป การลงทะเบียนที่ดินและทรัพย์สินภายใต้กฎหมาย “Law on State Registry” ที่ช่วยวางรากฐานข้อมูล และทำให้ปัญหาคอร์รัปชันในจอร์เจียลดลงตั้งแต่ปี 2547 สะท้อนให้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในจอร์เจียไม่ได้เกิดจากระบบ Blockchain ที่ถูกนำมาใช้ในปี 2559 เพียงอย่างเดียว และไม่สามารถยืนยันได้ว่า Bloackchain คือเครื่องมือแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ดีตามที่หลายคนยกย่อง จึงเป็นเหตุผลที่ Per Aarvik ได้กล่าวว่า Blockchain กำลังได้เครดิตที่เกินจริงในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในจอร์เจีย

อย่างไรก็ตาม การใช้เทคโนโลยีเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชันในปัจจุบันยังเป็นประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศก็เริ่มมีการพูดถึงและนำมาใช้ รวมถึงประเทศไทยเองด้วย ทั้งหมดจึงเป็นสิ่งที่เราต้องติดตามกันต่อไป

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2566
ผู้แต่ง
  • ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หน่วยงานสนับสนุน
05_โลโก้ KRAC
โลโก้คณะเศรษฐศาสตร์ (ภาษาไทย)

หัวข้อ
Related Content

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ตัดจบปัญหาคอร์รัปชัน ผ่านการสร้าง Big Data

Big Data มีความสำคัญอย่างมากในการต่อต้านคอร์รัปชัน เพราะสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายของรัฐที่ถูกจัดเก็บไว้มาวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการคอร์รัปชันได้ หากใช้งานข้อมูลให้เป็น จะช่วยอุดช่องโหว่ความเสี่ยงคอร์รัปชันได้

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | 3 มุมมองจากผู้รู้ สู่การแก้โกงจากการใช้ดุลยพินิจของรัฐ

เมื่อดุลยพินิจมากเกินไป แก้อย่างไรถึงจะเห็นผล ? ในการกำหนดนโยบายและการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของรัฐต่างก็ต้องมีคนที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการ โดยสามารถใช้ดุลยพินิจของตนเพื่อตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ แต่หลายครั้งการวินิจฉัยกลับไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรม หรือเป็นการวินิจฉัยที่เบี่ยงเบนไปตามความพึงพอใจ อคติ หรือเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง จนเกิดเป็นการ “ทุจริต”

KRAC Insight | เเค่เปิดเผยข้อมูลอาจไม่พอ (?) เพราะต้องมีการวางให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน !

พัฒนามาตรฐานของชุดข้อมูลอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้จากงาน “The Southeast Asian Anti-Corruption Network (SEA-ACN) Roundtable Discussion”

You might also like...

บทความวิจัย : ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสริมสร้างความร่วมมือและการควบคุมคอร์รัปชันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรี

เมื่อการกระจายอำนาจกลับกลายเป็นการกระจายการทุจริตสู่ท้องถิ่น เพื่อยับยั้งปัญหาคอร์รัปชันในท้องถิ่น จึงต้องส่งเสริมการปกครองตามหลักธรรมาภิบาล (กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบุรี)

KRAC Around เล่าข่าวคอร์รัปชันจากทั่วโลก I UNODC จับมือไนจีเรียจัดทำรายงานการทุจริตในไนจีเรีย ชี้ “การติดสินบนได้รับการยอมรับน้อยลง”

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “การทุจริตในไนจีเรีย: รูปแบบและทิศทาง (Corruption in Nigeria: Patterns and Trends)” เป็นการสำรวจเกี่ยวกับการรับรู้การทุจริตของประชาชนในประเทศไนจีเรียจากประสบการณ์ของประชาชน นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์แนวโน้มการทุจริต ประสิทธิภาพของกลยุทธ์ และแนวทางการต่อต้านการทุจริตอีกด้วย

คิดด้วยพลเมือง(See-Think-Cen’) : โกง (เรื่อง) กิน ฉ่ำๆ หม่ำๆ แบดกาย แบดกายหม่ำๆ

เมื่อวันแม่ที่ผ่านมาหลายๆ ท่านคงพาคุณแม่ไปทานข้าว หรืออาจกลับบ้านไปทานข้าวกับคุณแม่และครอบครัว เพราะสำหรับคนไทยแล้ว “อาหารเป็นเรื่องสำคัญ” ดังนั้นในวันสำคัญการนัดรวมตัวกันกินข้าวจึงเป็นเรื่องจำเป็น