CoST Thailand แพลตฟอร์มร่วมติดตาม ตรวจสอบ ส่งเสียง เพื่อความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ

ถนนพัง สะพานทรุด อาคารร้าว สร้างแล้วไม่ได้ใช้งาน ใครจะดูแลรับผิดชอบ? เห็นโครงการก่อสร้างใหม่ สร้างอะไร? คุ้มค่าไหม? ใช้งบเท่าไหร่ มีปัญหาคอร์รัปชันหรือเปล่า?

หากคุณคือคนหนึ่งที่เคยเห็น เคยเจอ หรือเคยกังวลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ “โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ” (Infrastructure Transparency Initiative: CoST) คือเครื่องมือหนึ่ง ที่จะทำให้คุณสามารถช่วยติดตาม ตรวจสอบ และส่งเสียงให้ผู้รับผิดชอบแก้ปัญหาได้

CoST Thailand ถูกพัฒนาขึ้นเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ประชาชนร่วมติดตาม ตรวจสอบ ส่งเสียง เพื่อความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ (Infrastructure Transparency Initiative: CoST) โดยข้อมูลใน CoST Thailand นำมาจากฐานข้อมูลที่เปิดเผยในเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง และนำมาพัฒนาแพลตฟอร์ม Build Better Lives เพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อร่วมประเมินคุณภาพงานก่อสร้างให้เกิดความคุ้มค่าจากเงินภาษีที่ได้จ่ายไป

ผู้เข้าใช้งานสามารถค้นหาโครงการก่อสร้าง โดยเลือกจากระยะ 20 กม. รอบตัว หรือค้นหาโครงการก่อสร้างตามความสนใจ เช่น จังหวัด ประเภทโครงการ หน่วยงาน ปีงบประมาณ หรือสถานะของโครงการ หรือจะเลือกดูข้อมูลโครงการเบื้องต้น (บางส่วนจาก 40 ชุดข้อมูลที่เปิดเผย) เพื่อสร้างความเข้าใจ และช่วยติดตามตรวจสอบโครงการที่พบเห็นได้ รวมถึงสามารถดูข้อมูลภาพรวมในเชิงสถิติและการเปรียบเทียบในมิติต่าง ๆ เช่น เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน หรือระหว่างพื้นที่ นอกจากนั้น ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นห รือส่งรูปถ่าย เพื่อรายงานสถานการณ์หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครงการที่พบเห็นได้ทุกที่ทุกเวลา

ที่มาภาพ : CoST Thailand

ผู้เข้าใช้งานสามารถค้นหาโครงการก่อสร้าง โดยเลือกจาก ระยะ 20 กม. รอบตัว หรือค้นหาโครงการก่อสร้างตามความสนใจ เช่น จังหวัด ประเภทโครงการ หน่วยงาน ปีงบประมาณ หรือสถานะของโครงการ หรือจะเลือกดูข้อมูลโครงการเบื้องต้น (บางส่วนจาก 40 ชุดข้อมูลที่เปิดเผย) เพื่อสร้างความเข้าใจ และช่วยติดตามตรวจสอบโครงการที่พบเห็นได้ รวมถึงสามารถดูข้อมูลภาพรวมในเชิงสถิติและการเปรียบเทียบในมิติต่าง ๆ เช่น เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน หรือระหว่างพื้นที่ นอกจากนั้น ผู้ใช้สามารถแสดงความคิดเห็นหรือส่งรูปถ่าย เพื่อรายงานสถานการณ์หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับโครงการที่พบเห็นได้ทุกที่ทุกเวลา

🚩 CoST Thailand
ประเทศ: ไทย
ประเภทเครื่องมือ : Monitoring Public Procurement
ผู้จัดทำเครื่องมือ : องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ร่วมกับอนุกรรมการ CoST MSG กรมบัญชีกลาง และผู้แทนองค์กรภาคประชาชน

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อมต่อทุกไอเดียจากความต้องการของประชาชนไปกับเเพลตฟอร์ม JOIN

ไต้หวันเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในเอเชียที่มีการเปิดเผยการทำงานของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรม ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม JOIN หรือ https://join.gov.tw มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม

จับโกงงบโควิด ด้วย ACT Ai เปิดข้อมูลการใช้จ่ายเพื่อกู้วิกฤตโควิด-19

เมื่อโควิดหลากหลายสายพันธุ์กำลังบุกเข้าไทย รัฐบาลไทยต้องใช้เงินกู้สู้โควิด-19 หลายแสนล้านบาท พวกเราได้อะไรจากงบก้อนนี้บ้าง ต้องคอยจับตาดูให้ดี

You might also like...

KRAC Insight | การเพิ่มขีดความสามารถภาครัฐ และลดคอร์รัปชัน ในฐานะ “นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรม”

KRAC ชวนทุกท่านร่วมเจาะลึกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการทำงานเชิงรุกของภาครัฐ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้แข่งขันได้มากยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก

KRAC Insight x C4 Centre | ความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชันที่แฝงอยู่ในรูปแบบของการจัดซื้อจัดจ้างที่หลากหลาย

รู้หรือไม่? การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมีหลายรูปแบบ และในแต่ละรูปแบบก็ซ่อน “ความเสี่ยงคอร์รัปชัน” ไว้ต่างกัน! KRAC ร่วมกับ C4 Centre มาเลเซีย เปิดเผยประเด็นร้อนจากเวทีประชุมระดับภูมิภาค SEA-ACN ว่าความเสี่ยงคอร์รัปชันซ่อนอยู่ใน PPP, PFI, G2G, Strategic Partnership รวมถึงการจัดซื้อในสถานการณ์ฉุกเฉินอีกด้วย

KRAC Extract | คอร์รัปชันหลังเเผ่นดินไหว: โอกาสแห่งการฟื้นตัวหรือประตูสู่การทุจริต

คอร์รัปชันหลังแผ่นดินไหว…เมื่อเงินฟื้นฟูหลั่งไหล แต่ความโปร่งใสกลับหายไป! กรณีศึกษาจากตุรกี ที่เผยให้เห็นว่าภัยพิบัติอาจเปิดช่องให้การทุจริตแทรกซึมได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดการหลังภัยพิบัติ บทเรียนนี้ไม่ใช่แค่ของต่างประเทศ แต่คือสัญญาณเตือนที่ไทยก็ต้องระวังเช่นกัน!