ความร่วมมือระหว่างประเทศช่วยแก้ปัญหาคอร์รัปชันได้อย่างไร ?
คอร์รัปชัน เป็นปัญหาเรื้อรังที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการของรัฐ ซึ่งทั่วโลกต่างพยายามมองหาวิธีการแก้ไข และเกาหลีใต้คือหนึ่งในประเทศที่สามารถรับมือได้ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภายใต้การทำงานของ Anti-corruption & Civil Rights Commission (ACRC) หรือคณะอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมืองที่ใกล้เคียงกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในบ้านเรา
เกาหลีใต้ได้มีความพยายามแก้ปัญหาและคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเครื่องมือที่เรียกว่า “e-People” แพลตฟอร์มร้องเรียนหน่วยงานรัฐที่ประชาชนเกาหลีใต้ทุกคน รวมทั้งชาวต่างชาติ สามารถร้องเรียนได้ทั้งเรื่องการทุจริต การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีประสิทธิภาพ แจ้งปัญหาเพื่อพัฒนาระบบ และสามารถเช็กสถานะของเรื่องที่ส่งไปได้ ทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้ e-People กลายเป็นที่ยอมรับจากหลาย ๆ ประเทศว่า เป็นช่องทางการร้องเรียนที่สามารถเข้าถึงทุกคนได้
แพลตฟอร์ม e-People ได้กลายเป็นองค์ความรู้ที่ถูกส่งต่อในปี 2565 โดยมีการจัดบรรยายระหว่างเกาหลีใต้ร่วมกับอินโดนีเซียเพื่อสรุปนโยบายการพัฒนาเครื่องมือ e-People ให้กับตัวแทนและข้าราชการระดับสูงของอินโดนีเซีย เพื่อนำแนวทางในการจัดการไปพัฒนาระบบร้องเรียนหน่วยงานรัฐในอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันอินโดนีเซียมีแพลตฟอร์มที่ชื่อ SP4N-LAPOR ซึ่งในอนาคตจะมีการนำความรู้ที่ได้จาก “e-people” มาพัฒนาต่อในแพลตฟอร์มนี้
ความร่วมมือครั้งนี้ Diah Natalisa รองนายกรัฐมนตรีของอินโดนีเซียได้บอกว่า “เราได้ยินมาว่าเกาหลีใต้สามารถแก้ปัญหาภายในหน่วยงานได้อย่างรวดเร็วซึ่ง ACRC มีบทบาทอย่างมาก การจัดบรรยายสรุปนโยบายครั้งนี้ อินโดนีเซียจะนำความรู้ไปพัฒนา SP4N-LAPOR ให้เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถใช้งานได้สะดวกเหมือน e-People”
นอกจากนี้ An Sung Uk เลขาธิการ ACRC ยังบอกว่า “เราหวังว่าการแบ่งปันประสบการณ์ครั้งนี้จะช่วยพัฒนา และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในระบบการร้องเรียนของอินโดนีเซีย”
- ศูนย์ความรู้เพื่อความร่วมมือในการต่อต้านคอร์รัปชัน และส่งเสริมธรรมาภิบาลในระดับภูมิภาค
หัวข้อ
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย I มันจบแล้วครับ…(ถ้า) นาย (โกง) : รู้จักกฎหมายคุ้มครองผู้แจ้งเบาะทุจริต
การแจ้งเบาะแส เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่สามารถลดการคอร์รัปชันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคงไม่มีใครให้มีข้อมูลเชิงลึกได้เท่า “คนใน” องค์กรเอง แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนในองค์กรไม่กล้าให้แจ้งเบาะแสทุจริต คือ “ความกลัว”
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รู้จัก 3 แนวทาง Support ผู้แจ้งเบาะแสทุจริต
ยิ่งมีคนแจ้งเบาะแสมากเท่าไร ก็จะยิ่งมีการตรวจสอบและช่วยนำคนผิดมาลงโทษมากเท่านั้น แต่อุปสรรคสำคัญที่ทำให้หลายคนที่มีข้อมูลไม่อยากแจ้งเบาะแส เพราะกลัวว่าถ้าแจ้งไปแล้วก็อาจจะโดนกลั่นแกล้ง
KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | รางวัลแด่คนช่าง “แจ้ง”
กุญแจสำคัญที่จะช่วยจัดการคอร์รัปชันได้ คือ “การมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแส” เพราะถ้าทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยตรวจสอบคอร์รัปชันภายในหน่วยงานรัฐ ช่วยกันแจ้งเบาะแส จะทำให้เจ้าหน้าที่รัฐรู้สึกกดดัน กลัวจะถูกจับได้และไม่กล้าคอร์รัปชัน ภาครัฐจึงมีความพยายามอย่างมากให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน