GLASS Fact Check แพลตฟอร์มที่ช่วยลด Fake News อย่างมีส่วนร่วม

เจอ Fake News ทุกวัน แล้วจะเชื่อใครดี เมื่อข่าวปลอมระบาดหนัก จนอาจลดทอนความเชื่อมั่นในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ แล้วประชาชนจะทำยังไง

 GLASS Fact Check แพลตฟอร์มที่ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของข่าวสารที่มาจากคำให้การหรือแถลงการณ์โดยผู้ปฏิบัติงานทางการเมืองหรือหน่วยงานภาครัฐในประเทศจอร์เจีย ริเริ่มโครงการโดยองค์กร Georgia’s Reforms Associates (GRASS) เนื่องจากเห็นถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาการรับข่าวสารหรือข้อมูลที่เป็นเท็จของประชาชน สร้างความเข้าใจผิดและเป็นการลดทอนความน่าเชื่อของประชาชนที่มีต่อการทำงานของภาครัฐ

แพลตฟอร์มนี้จึงรวบรวมข่าวสารที่อาจเป็นเท็จจากหลากหลายช่องทาง เช่น สื่อโทรทัศน์ ข่าวสารออนไลน์ หรือจากการแจ้งเบาะแสข่าวเท็จโดยประชาชนทั่วไปผ่านการกรอกแบบฟอร์มสั้น ๆ หรือส่งเบาะแสทางเพจเฟซบุ๊ก โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ทางทีมงานจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องในรูปแบบบทความ พร้อมให้การยืนยันความถูกต้องของข้อมูลด้วย 10 เกณฑ์มาตรฐานความถูกต้องที่ยึดหลักการทำงานและรายงานผลตามหลักจรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นโดย International Fact-Checking Network (IFCN) ทำให้การประมวลข่าวหรือข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ผู้ใช้งานสามารถเลือกรับข่าวสารได้ด้วยการเข้าสู่หน้าเว็บไซต์ และเลือกดูข้อมูลข่าวตามหัวข้อที่ถูกจัดแสดงไว้อย่างง่ายด้วยเกณฑ์ความถูกต้องของข่าว Fake News / FactCheck in Media / FackCheck Newspaper / Promises หากผู้ใช้งานต้องการให้ทีมงานช่วยตรวจสอบเบาะแสข่าวเท็จสามารถส่งข้อมูลได้ผ่านทางแพลตฟอร์มที่ Check your Facts หรือผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก ทีมงานจะใช้เวลาในการตรวจสอบประมาณ 1 สัปดาห์ถึง 1 เดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละประเด็นข่าว โดยเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยข้อมูลจะถูกนำเสนอในรูปแบบบทความเผยแพร่ทางเว็บไซต์และแจ้งให้กับผู้ใช้งานทราบทางอีเมล

จะว่าไปในไทยเราก็มี Cofact โคแฟค ไว้คอยเช็กข่าวปลอมเหมือนกันนะ ไปทดลองใช้งานกันได้เลย

🚩 GRASS Fact Check
ประเทศ : Georgia
ประเภทเครื่องมือ : Open Parliament
ผู้จัดทำเครื่องมือ : Georgia’s Reforms Associates (GRASS)

ปีที่แต่ง (พ.ศ.)
2564
ผู้แต่ง
  • HAND SOCIAL ENTERPRISE
หน่วยงาน

หัวข้อ
Related Content

เปิดข้อมูลเพื่อความสร้างสรรค์ไปกับ data.gov.sg

เคยนึกสงสัยกันไหมว่าถ้าประเทศไทยมีการเปิดเผยข้อมูลจากภาครัฐ ข้อมูลเหล่านั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และต่อต้านการคอร์รัปชันได้อย่างไรบ้าง?

ลงทุนกับกองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (THAI CG Fund) สร้างสังคมปลอดโกง

ลงทุนในกองทุนรวมที่ใส่ใจสังคม นอกจากได้ผลตอบแทนระยะยาว และบริหารความเสี่ยงต่อการผันผวนในตลาดกองทุนจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ลงทุนยังได้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันอีกด้วย

You might also like...

KRAC คัดสรร เล่างานวิจัยไทย | ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จของหน่วยงานรัฐ ในการสร้างธรรมาภิบาล ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

สร้างความสำเร็จในหน่วยงานด้วย “หลักธรรมาภิบาล” ตามแผน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีตัวอย่าง 6 หน่วยงานรัฐไทยที่ไขแนวคิด พิชิตความสำเร็จในการสร้างธรรมาภิบาล…ปัจจัยความสำเร็จเหล่านี้เป็นอย่างไรบ้าง ? และผลลัพธ์ของการมีธรรมาภิบาลจะเป็นเช่นไร ? มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกัน

KRAC Insight | รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน

รู้จัก PEPs เครื่องมือช่วยประชาชนสืบค้นข้อมูลการโกง เชื่อมโยงเครือข่ายคอร์รัปชัน จากทีม Open Data ของเครือข่าย “SEA-ACN”